ปตท. เปิดเผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 5 – 9 ก.ย. 65 และแนวโน้ม 12 – 16 ก.ย. โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 91. เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -5.37 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปของ เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 84.79 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -5.55 เหรียฐสหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 92.23 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง -5.67 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง -1.25 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 103.08 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง -5.50 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 139.83 เหรียญสหรัฐฯ65
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยในสัปดาห์ล่าสุด ลดลงกว่า 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า โดยนักลงทุนกังวลต่อสถานการณ์ COVID-19 ในจีน โดยเมือง Chengdu ขยายเวลา Lockdown ออกไปอย่างไม่มีกำหนด จากเดิมที่คาดว่าจะสิ้นสุดในวันที่ 7 ก.ย. 65 เมือง Chengdu เป็นเมืองหลวงของมณฑล Sichuan ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีประชากร 21 ล้านคน รายได้จากเมืองนี้คิดเป็น 1.7% ของเศรษฐกิจจีน ทั้งนี้ในวันที่ 8 ก.ย. 65 พบผู้ติดเชื้อ COVID-19 รายใหม่ในเมือง Chengdu 116 ราย
จับตาการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของสหรัฐฯ (FOMC) ในวันที่ 20-21 ก.ย. 65 ซึ่ง Reuters Poll คาดการณ์ว่าจะเพิ่มอัตราดอกเบี้ย 0.75% จากระดับปัจจุบันที่ 2.25-2.5% แม้อัตราว่างงานในสหรัฐฯ จะเพิ่มขึ้นก็ตาม
กระทรวงการคลังสหรัฐฯ ออกแนวทางสำหรับการปฏิบัติตามมาตรการกำหนดเพดานราคา (Price Cap) น้ำมันรัสเซีย โดยผู้ซื้อผู้ขายและผู้ค้าน้ำมันรัสเซียต้องออกใบรับรองว่าราคาต่ำกว่าเพดาน หากพบการบิดเบือนจะมีความผิด อย่างไรก็ดีบริษัทที่ไม่ใช่คู่ค้าโดยตรง อาทิ บริษัทขนส่ง บริษัทประกันจะถือว่าไม่มีความผิด ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดระดับเพดานราคา โดยมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันดิบรัสเซียจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 5 ธ.ค. 65 และจะบังคับใช้กับผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปในวันที่ 5 ก.พ. 66 อย่างไรก็ดีประธานาธิบดีรัสเซีย Vladimir Putin กล่าวเตือนว่าจะยกเลิกการส่งพลังงานให้แก่ประเทศที่กำหนดเพดานราคาน้ำมันรัสเซีย
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ
หน่วยงานศุลกากรของจีนรายงานปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบ ในเดือน ส.ค. 65 ลดลงจากปีก่อน 9.4% อยู่ที่ 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากโรงกลั่นเอกชนลดอัตราการกลั่นลงจากเดือนก่อน 5% อยู่ที่ 65% ทำให้การนำน้ำมันดิบเข้ากลั่นในเดือน ม.ค.- ส.ค. 65 ลดลงจากปีก่อน 4.7% อยู่ที่ 9.92 ล้านบาร์เรลต่อวัน
EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ในสหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 2 ก.ย. 65 เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 8.9 ล้านบาร์เรล อยู่ที่ 427.2 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 4 สัปดาห์ และคาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบที่สหรัฐฯ ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 540,000 บาร์เรลต่อวันอยู่ที่ 11.79 ล้านบาร์เรลต่อวัน และในปี 2566 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 840,000 บาร์เรลต่อวัน อยู่ที่ 12.63 ล้านบาร์เรลต่อวัน
8 ก.ย. 65 ธนาคารกลางยุโรป (ECB) มีมติปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Main Refinancing Operations Rate) ขึ้น 0.75% อยู่ที่ 1.25% ต่อเนื่องจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.5% ในการประชุมเดือน ก.ค. 65 ทั้งนี้เงินเฟ้อของยูโรโซนในเดือน ส.ค. 65 อยู่ที่ +9.1% จากปีก่อน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ และECB ประมาณการณ์อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยในปี 2565 อยู่ที่ +8.1% จากปีก่อน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
วันที่ 5 ก.ย. 65 ที่ประชุมของกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) มีมติปรับลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในเดือน ต.ค. 65โดยลดลง 100,000 บาร์เรลต่อวัน เป็นครั้งแรกในรอบ 2 ปี สวนทางกับที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะคงปริมาณการผลิต ทั้งนี้กลุ่ม OPEC+ จะประชุมครั้งถัดไปในวันที่ 5 ต.ค. 65 อย่างไรก็ตามสามารถเรียกประชุมฉุกเฉิน