สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประกาศผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผลปรากฏว่า ธอส. ได้ 99.92 คะแนน สูงสุดตั้งแต่เข้าร่วมประเมิน และ สูงที่สุดอันดับ 1 ในกลุ่มรัฐวิสาหกิจต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 สะท้อนการเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐชั้นนำของประเทศไทยที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการและการดำเนินงานในทุกมิติที่มีประสิทธิภาพ มีความโปร่งใส และเป็นธรรม พัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็ง และสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ประชาชน และบุคลากรภายในองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง
นายฉัตรชัย ศิริไล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ประกาศผลประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งผลปรากฏว่า ธอส. ได้ผลประเมินที่ 99.92 คะแนน อยู่ในระดับ AA ถือเป็นหน่วยงานที่ได้รับคะแนนประเมินสูงสุดอันดับ 1 กลุ่มรัฐวิสาหกิจต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 จากหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมิน 8,303 หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศ ถือเป็นคะแนนสูงที่สุดที่ธนาคารได้รับนับตั้งแต่เข้าร่วมประเมิน ITA เมื่อปี 2557 นับเป็นเกียรติและความภาคภูมิใจของธนาคาร ในฐานะสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่มีพันธกิจ “ทำให้คนไทยมีบ้าน” สะท้อนการเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศไทยที่มีมาตรฐานการบริหารจัดการและการดำเนินงานในทุกมิติได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีประสิทธิผล มีความโปร่งใส และเป็นธรรม พัฒนาองค์กรให้มีความเข้มแข็ง และปรับตัวได้รวดเร็ว เพื่อตอบสนองต่อความต้องการลูกค้า ประชาชนรวม ถึงบุคลากรภายในองค์กรได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากการร่วมมือกันของคณะกรรมการธนาคาร ผู้บริหารระดับสูง พนักงานและผู้ปฏิบัติงานทั้งองค์กรมากกว่า 5,000 คน รวมถึงการสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder) ทุกกลุ่ม อาทิ ลูกค้า พันธมิตรทางธุรกิจ คู่ความร่วมมือ ผู้ให้บริการภายนอก สังคมและชุมชน สื่อมวลชน และหน่วยงานกำกับฯ ที่มีความมั่นใจและให้การยอมรับว่า ธอส. ดำเนินงานอย่างมีคุณธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ และถือเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของ ธอส. จนนำมาสู่คะแนนสูงที่สุดในปี 2565 มีทั้งสิ้น 8 Key Success Factors ประกอบด้วย 1.Leadership ผู้นำมีการกำหนดนโยบายที่ชัดเจน บริหารงานอย่างมีธรรมมาภิบาล เปิดเผย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และ
ต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ
2.Employee Awareness & Engagement สร้างการรับรู้ และเพิ่มขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดวัฒนธรรมการทำงานด้วยความทุ่มเท ด้วยความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีความรักและผูกพันต่อองค์กร เพื่อให้องค์กรเจริญก้าวหน้า
3.Digitized Communication การสื่อสารแบบดิจิทัลที่มีความรวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ เหมาะกับสถานการณ์ COVID-19 โดยเน้นการสื่อสารแบบสองทาง เพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบทิศทาง นโยบายต่าง ๆ ของธนาคาร และปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน
4.Participation ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มของธนาคารมีส่วนร่วมในการดำเนินงานด้านต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.Technology นำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการการทำงาน รวมถึงพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ให้สอดรับกับยุค New Normal ทำให้เกิดความรวดเร็ว คล่องตัว และลดขั้นตอนการทำงาน 6.Learning เรียนรู้จากผลการประเมินในปีที่ผ่านมา โดยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ พัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีความถูกต้อง ครบถ้วน และทันต่อสถานการณ์ โดยนำหลักการของ 3 Lines of Defense มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานที่ทุกคนต้องร่วมกันรับผิดชอบต่อผลการปฏิบัติงาน มีความโปร่งใส และตรวจสอบได้ 7.Agility ปรับตัวและตอบสนองต่อสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงได้รวดเร็ว สร้าง Mindset ใหม่เพื่อให้เกิดการทำงานที่รวดเร็ว และคล่องตัว
อีกทั้งยังลดขั้นตอนการทำงานที่ไม่จำเป็น ส่งเสริมให้ทุกคนมีส่วนร่วม นำเสนอความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างความตระหนักให้ทุกคนในองค์กรรู้ว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารประสบความสำเร็จ 8.Resilience ความสามารถในการรับมือกับผลกระทบจากปัญหาหรือวิกฤติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น เช่น การแพร่รระบาดของ COVID-19 แต่ธนาคารสามารถก้าวผ่านวิกฤติได้ดีและรวดเร็วด้วยผู้นำองค์กร ผู้บริหารระดับสูง และผู้ปฏิบัติงานทุกระดับ ที่พร้อมรับมือกับปัญหา และหาโอกาสใหม่ในระหว่างเกิดวิกฤติ หรือหลังวิกฤติ รวมถึงความมีประสิทธิภาพของระบบการปฏิบัติงาน ที่ทำให้ธนาคารสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่อง