29.1 C
Bangkok
Wednesday, January 15, 2025
musubishi900x192px_2024
Honda_900x192px 2024
163732
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Mitsubishi_900x192px_2
previous arrow
next arrow

มาร์เก็ตบัซซ ร่วมกับวิทยาลัยโลกคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์ เผยผลวิจัยพบ ‘ปัญหาสิ่งแวดล้อม’

ผลสำรวจล่าสุดในหัวข้อ “คนไทยสนใจสิ่งแวดล้อมหรือไม่” ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 1,000 คน ในเดือนมิถุนายน 2565 สะท้อนถึงปัญหาที่สร้างความกังวลใจสูงสุด 5 อันดับแรก พบว่าปัญหาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ถูกมองว่าเป็นประเด็นที่สำคัญมากเป็นอันดับสอง อยู่ที่ 37% รองลงมาจากปัญหาค่าครองชีพที่สูงขึ้น อยู่ที่ 44% นอกจากนี้ คนไทยยังให้ความสำคัญกับปัญหาอื่นๆ รองลงมา เช่น การทุจริตคอรัปชั่นของหน่วยงานภาครัฐ, อาชญากรรม, การจราจร และสภาพเศรษฐกิจโดยรวม

ผลการวิจัยของมาร์เก็ตบัซซ ร่วมกับวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ยังเผยอีกว่าคนไทยกว่า 62% ยอมรับว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมมีผลกระทบกับคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะในกลุ่มของคนรุ่นใหม่ที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี ที่มีความกังวลในเรื่องดังกล่าวสูงถึง 76% นอกจากนี้ คนส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมจะยังคงมีอยู่ต่อไป โดยกว่า 41% ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเชื่อว่าสถานการณ์ด้านสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มที่จะรุนแรงมากยิ่งขึ้นในอีก 5 ปีข้างหน้า

มร.แกรนท์ บาร์โทลี่ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มาร์เก็ตบัซซ กล่าวว่า “ปัจจุบันการเพิ่มของประชากรโดยเฉลี่ยทั่วโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น และการที่ประชากรเพิ่มจำนวนมากขึ้น หมายถึงความต้องการในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการดำรงชีวิตก็เพิ่มขึ้นด้วย ประกอบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมนานาประการทั้งทางตรงและทางอ้อม และแม้ว่าการที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะมีทัศนคติในเชิงลบต่อทิศทางของปัญหาสิ่งแวดล้อมในอีก 5 ปีข้างหน้า ขณะเดียวกันก็มีจำนวนคนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และตื่นตัวหันมาดูแลใส่ใจอนุรักษ์ธรรมชาติกันมากยิ่งขึ้น เช่น ลดการเกิดมลภาวะ, อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ, ปกป้องคุ้มครองสัตว์ป่า หรือปรับพฤติกรรมในชีวิตประจำวันที่จะสามารถช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้โดยรวม”

จากผลการวิจัยพบว่า ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่คนไทยกังวลมากที่สุด 3 เรื่อง ได้แก่ ภาวะโลกร้อน (45%), มลภาวะทางอากาศ (35%) และการเปลี่ยนแปลงลักษณะอากาศ/อุณหภูมิ (30%)  อย่างไรก็ตาม คนไทยส่วนใหญ่มีความตื่นตัวในเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มต้นจากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน โดยที่นิยมทำกันคือ งดการสนับสนุนการซื้อขายหรือบริโภคของป่าอย่างผิดกฎหมาย (49%), ลดการใช้ไฟฟ้าภายในครัวเรือน เช่น ปิดไฟหรือแอร์เมื่อไม่ได้ใช้ ดูโทรทัศน์เป็นกลุ่ม/กับคนอื่นๆ ในครอบครัว (47%), ใช้ถุงผ้า หรือบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ซ้ำได้มากขึ้น (43%), แยกขยะ (41%) หรือเรื่องใกล้ตัวอื่นๆ ที่ทุกคนสามารถทำตามได้ในทุกวัน

มร.แกรนท์ บาร์โทลี่ ได้กล่าวเสริมอีกว่า “ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นของทุกคนในสังคม ดังนั้นการช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ จึงต้องเป็นการร่วมมือกันหลายๆ ฝ่ายไม่ว่าจะเป็นส่วนบุคคล หรือองค์กรภาครัฐที่ต้องเข้ามาขับเคลื่อนเป็นตัวหลักและสนับสนุนฝ่ายต่างๆ อีกทั้งองค์กรเอกชนซึ่งเป็นพลังส่วนหนึ่งในการผลักดันและจัดให้มีโครงการต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ  นอกจากนั้น ผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อสินค้า และบริการที่มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยลดผลกระทบต่างๆ ในการผลิตที่อาจเกิดอันตรายต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม รวมทั้งช่วยลดการปล่อยมลพิษที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนอีกด้วย”

ผศ.ดร.ประภาภรณ์ ติวยานนท์ มงคลวนิช คณบดีวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า “เป็นเรื่องที่น่ายินดีที่เห็นว่าประชาชนทั่วไปใส่ใจถึงความสำคัญของการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในอนาคต  เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ นับเป็นหัวใจสำคัญของหลักสูตรของเรา และการที่คนไทยมีความตระหนักต่อสิ่งนี้มากขึ้น ช่วยให้เราได้ทำในสิ่งที่เราเล็งเห็นแล้วว่าเป็นความสำคัญในอันดับต้นๆ ต่อชุมชนของเรา”

ผศ.ดร.ประภาภรณ์ ติวยานนท์ มงคลวนิช กล่าวเสริมอีกว่า “ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกๆ คน ไม่ใช่เฉพาะหน่วยงานภาครัฐเท่านั้น โดยเราสามารถลงมือรักษาสิ่งแวดล้อมรอบตัวกันได้ตั้งแต่วันนี้ ซึ่งหากทุกคนให้ร่วมมือในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โลกของเราก็จะกลับมาสวยงามและสามารถแก้วิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสะสมมาอย่างยาวนานได้แบบยั่งยืน”หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมให้ติดต่อ มร.แกรนท์ บาร์โทลี่ ที่อีเมล์ (grant@buzzebees.com) หรือ มร.นีล เกนส์ คณะวิทยาลัยโลกคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่อีเมล์ (neil@sgs.tu.ac.th).

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,200SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles