การเปลี่ยนกริพพัตเตอร์และการจับไม้พัตเตอร์ใหม่สร้างความแตกต่างให้กับ นิโก้ เอชาวาร์เรีย อย่างเห็นได้ชัด เมื่อโปรกอล์ฟหนุ่มวัย 30 ปีจากโคลัมเบีย ผงาดครองแชมป์โซโซ แชมเปี้ยนชิพ ที่ประเทศญี่ปุ่นในการลงเล่นครั้งแรก โดยทำเบอร์ดี้หลุมสุดท้าย ในหลุม 18 พาร์ 5 เฉือนชนะ จัสติน โธมัส ดีกรีสองแชมป์เมเจอร์ และแม็กซ์ เกรย์เซอร์แมน ที่จับคู่กับเขาคว้าอันดับ 4 ร่วมในการแข่งขันแบบทีมรายการซูริก คลาสสิค ออฟ นิวออร์ลีน เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา (ภาพ: Getty Images)
“เอชาวาร์เรีย” คว้าแชมป์ที่ญี่ปุ่น
เอชาวาร์เรีย เข้าสู่การแข่งขันที่สนามแอคคอร์เดีย กอล์ฟ นาราชิโนะ คันทรีคลับ โดยมีสถิติ Strokes Gained: Putting รั้งอันดับ 107 ของทัวร์ แต่ได้มีการฝึกซ้อมรูปแบบใหม่กับโค้ชของเขาที่ลาสเวกัส ในสัปดาห์ซึ่งโปรกอล์ฟจากโคลัมเบียไม่ผ่านการตัดตัวรายการไชรเนอร์ส ชิลเดนส์ โอเพ่น อย่างไรก็ตาม เอชาวาร์เรียยังไม่ค่อยพอใจกับผลการฝึกซ้อม จึงตัดสินใจเปลี่ยนกริพพัตเตอร์ในวันอังคารหลังจากเดินทางญี่ปุ่น
การปรับเปลี่ยนได้ผลอย่างน่าทึ่ง เอชาวาร์เรียประเดิมสองวันแรกด้วยผลงานการตี 64 ทั้งสองวัน และรั้งอันดับ 8 ของสถิติ Strokes Gained: Putting ในสัปดาห์ดังกล่าว ครองอันดับหนึ่งสถิติ putts per green in regulation และอันดับสองสถิติ total putts ทำไป 106 พัตต์ตลอดสัปดาห์ โดยในหลุม 18 พาร์ 5 ทำสกอร์ 5 อันเดอร์พาร์ เทียบเท่าสถิติดีที่สุดของสัปดาห์ และทำสกอร์ 9 อันเดอร์พาร์ในสี่หลุมสุดท้ายตลอดสี่วันแบบไม่เสียโบกี้ นอกจากนี้เอชาวาร์เรีย ยังมีค่าเฉลี่ยการเล่นที่หลุม 18 ดีกว่าผู้เล่นคนอื่นๆ ในสนาม .51 สโตรก และทำสองพัตต์เบอร์ดี้ในรอบสุดท้ายคว้าแชมป์ไปครองสำเร็จ
ผลงานการเล่นหลุมพาร์ 3 ของเอชาวาร์เรีย ก็ทำได้ดีเช่นกัน ทำสกอร์ 10 อันเดอร์พาร์ ทาบสถิติดีที่สุดที่ จัสติน เลียวนาร์ด ทำไว้เมื่อครั้งคว้าแชมป์ในปี 1983 และการทำสกอร์เฉลี่ย 2.50 ในหลุมพาร์ 3 ก็เป็นสถิติสกอร์ต่ำสุดอันดับ 3 ของตำแหน่งแชมป์รายการนี้นับตั้งแต่ปี 2003 โดยมีสถิติ strokes gained total ที่หลุมพาร์ 3 อยู่ที่ 7.61 และพัตต์ลงรวมระยะ 122 ฟุต 8 นิ้ว ขณะเดียวกันเอชาวาร์เรีย จบผลงานด้วยสกอร์รวมต่ำสุดในอาชีพที่ 20 อันเดอร์พาร์ 260 ดีกว่าสถิติทัวร์นาเมนท์นี้ที่ไทเกอร์ วูดส์ ทำไว้ในปี 2019 อยู่ 1 สโตรก และเป็นแชมป์พีจีเอทัวร์รายการที่สองของโปรกอล์ฟจากโคลัมเบีย
“พอสตัน” ครองแชมป์ไชรเนอร์ส ชิลเดรนส์ โอเพ่น
เจ.ที. พอสตัน พบคอมฟอร์ทโซนที่สนามทีพีซี ซัมเมอร์ลิน และคว้าแชมป์รายการไชรเนอร์ส ชิลเดรนส์ โอเพ่น ในปีนี้ ซึ่งเป็นผลงานในท็อป 4 ครั้งที่สามของเขาที่สนามนี้ และทำสถิติตี 67 สโตรก หรือดีกว่าตลอดการแข่งขันสี่รอบเป็นครั้งที่สองในพีจีเอทัวร์ โดยเมื่อปีที่แล้วเปรสตันจบอันดับ 3 ร่วม
ช็อตไดรฟ์ของพอสตันไม่ค่อยดีนักตีเข้าเป้าเพียง 34 จาก 56 แฟร์เวย์ เทียบเท่าสถิติตีเข้าแฟร์เวย์น้อยที่สุดของตำแหน่งแชมป์ไชรเนอร์ส ชิลเดรนส์ โอเพ่น แต่ยังสามารถรั้งอันดับท็อป 20 ใน 4 รายการของสถิติ Strokes Gained ได้แก่อันดับ 15 Off the Tee, อันดับ 20 Approach the Green และอันดับ 6 สองรายการทั้ง Putting และ Around the Green ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เท่านั้นตลอดการเล่นอาชีพ
โปรกอล์ฟจากนอร์ธแคโรไลนา โดดเด่นในการเล่นที่หลุมพาร์ 5 โดยทำ 3 อีเกิ้ล และ 4 เบอร์ดี้ นั้นเท่ากับว่าพอสตันทำอีเกิ้ลที่ซัมเมอร์ลิน ทุกๆ 63 หลุม และทำไป 8 จากการลงเล่นทั้งหมด 504 หลุมที่สนามนี้ เทียบกับค่าเฉลี่ยของนักกอล์ฟอาชีพในพีจีเอทัวร์ จะทำ 1 อีเกิ้ลในการเล่น 182 หลุม
พอสตันทำสกอร์รวม 22 อันเดอร์พาร์ เป็นสถิติสกอร์รวมต่ำสุดลำดับ 4 ในอาชีพของเขา โดยแต้มส่วนใหญ่มาจากการเล่นในช่วง 5 หลุมสุดท้ายของแต่ละรอบ ซึ่งเขาทำได้ 11 อันเดอร์พาร์ มากกว่าแชมป์ไชรเนอร์ส ชิลเดรนส์ โอเพ่น คนอื่นๆ รวมถึงมากว่า เบน มาร์ติน ในปี 2014 ขณะเดียวกันในสัปดาห์ดังกล่าว เปรสตัน ยังมีสถิติ Stroke Gained : Tee to Green 9.82 สโตรก ดีกว่าผู้เล่นคนอื่นๆ ในสนาม 49 หลุมจากทั้งหมด 72 หลุม
“แม็คคาร์ธี” ประเดิมแชมป์แบล็ค ดีเสิร์ต
ถือเป็นสัปดาห์ของการแข่งขันแบล็ค ดีเสิร์ต แชมปี้ยนชิพ ครั้งแรก อีกทั้งเป็นทัวร์นาเมนท์แรกของพีจีเอทัวร์ที่จัดแข่งในยูทาห์ นับตั้งแต่ปี 1963 และเป็นโปรกอล์ฟหน้าใหม่ของทัวร์หรือรุกกี้อย่าง แมตต์ แม็คคาร์ธี ที่ประเดิมคว้าแชมป์ไปครองเป็นคนแรก
แม็คคาร์ธี เพิ่งคว้าตั๋วเข้ามาเล่นในพีจีเอทัวร์ ที่ยูทาห์ จากผลงานคว้าแชมป์ 3 รายการในเวทีคอร์น เฟอร์รี ทัวร์ ชัยชนะที่ยูทาห์ เป็นแชมป์รายการที่ 4 ของเขาจากการลงเล่น 10 รายการ ทำให้แม็คคาร์ธี กลายเป็นนักกอล์ฟคนที่สองที่ชนะในปีเดียวกันหลังจากเลื่อนชั้น นับตั้งแต่ เจสัน กอร์ ทำได้ในปี 2005 ขณะเดียวกันแม็คคาร์ธี คว้าแชมป์พีจีเอทัวร์แรกสำเร็จในการลงเล่นรายการที่ 3 โดยก่อนหน้ามีนักกอล์ฟเพียงสองคนที่ลงเล่นน้อยกว่าและได้แชมป์ นั่นคือ จิม เบนาเป (1) และแกร์เร็ตต์ ฮิกโก้ (2)
แม็คคาร์ธี เข้าสู่รอบสุดท้ายโดยมีสกอร์นำอยู่ 2 สโตรก และชนะคู่แข่งไป 3 สโตรกเมื่อจบการแข่งขัน พร้อมรั้งตำแหน่งผู้นำ Strokes Gained: Total +15.13 สโตรก โชว์ฟอร์มเยี่ยมโดยเฉพาะในการเล่นช่วง 3 หลุมสุดท้าย ทำได้ 7 อันเดอร์ มีสถิติ Strokes Gained: Tee to Green 3.46 และ Strokes Gained: Around the Green 4.28 ซึ่งดีที่สุดในสนามนี้ทั้งสองราย นอกจากนี้เขายังทำ 2 อีเกิลในหลุมพาร์ 4 เท่ากับ ดัสจิน จอห์นสัน (ทำได้สองครั้ง), ร็อคโก้ เมดิเอต และแบรด แฟ็กซั่น ในฐานะแชมป์ของพีจีเอทัวร์ที่ทำได้
“หยู” ประกาศศักดาที่มิสซิสซิปปี้
การแข่งขันรายการแซนเดอร์สัน ฟาร์มส์ แชมเปี้ยนชิพ มอบประสบการณ์ที่ยอดเยียมให้กับแชมป์สมัยแรกมาตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา และในปี 2024 ก็เช่นกันเมื่อ เควิน หยู โปรกอล์ฟจากไต้หวัน ที่ตามอยู่สองสโตรก ฮึดสู้สุดกำลัง จนทำเบอร์ดี้สำคัญที่หลุม 18 ในรอบปกติ และในรอบเพลย์ออฟ ก่อนเอาชนะ โบ ฮอสเลอร์ ผงาดคว้าแชมป์พีจีเอทัวร์รายแรกมาครองได้สำเร็จ
ชัยชนะดังกล่าว ทำให้เควิน หยู กลายเป็นนักกลอ์ฟไต้หวันคนที่ 3 ที่สามารถคว้าแชมป์พีจีเอทัวร์มาครองได้ ตามรอย ซี.ที. ปัน และที.ซี. เฉิน และเป็นแชมป์คนแรกครั้งที่ 14 ของรายการนี้ ขณะเดียวกันการคว้าแชมป์ของเควิน หยู เกิดขึ้นหลังลงเล่นในพีจีเอทัวร์ รายการที่ 56
สกอร์รวม 23 อันเดอร์พาร์ของเควิน หยู ถือเป็นสถิติของสนามคันทรีคลับ ออฟ แจ๊คสัน ขณะที่เปอร์เซนต์ความแม่นยำในการไดร์ฟอยู่ที่ 51.80 เทียบเท่ากับสถิติต่ำสุดอันดับ 4 ของตำแหน่งแชมป์ในฤดูกาลนี้ แต่เควิน หยู ได้ฟอร์มการพัตต์ที่ร้อนแรงมาชดเชย โดยทำได้ 27 เบอร์ดี้ (มากที่สุดเป็นอันดับ 2 ในอาชีพ) รั้งอันดับ 2 ในระยะการพัตต์สนามนี้ มีสถิติ Strokes Gained: Putting อยู่ที่ 8.66 สโตรก ส่วนสถิติ Strokes Gained: Total +12.52 ดีกว่าสถิติดีที่สุดที่สุดก่อนหน้านี้ของเขาที่เคยทำได้ในรายการไมร์เทิล บีช คลาสสิค เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา 2 ½ สโตรก