28.9 C
Bangkok
Monday, April 28, 2025
https://www.motorshow.in.th/en/home-en/
https://www.mercedes-benz.co.th/th
https://www.ford.co.th/showroom/all-offers/
Mitsubishi Xpander Cross
163732
Banner BIMS2025
BENZ_SL_900x192px
FORD900x192px_1
Mitsubishi900x192px_1
previous arrow
next arrow

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ จับมือพันธมิตร เปิดโครงการ “TRUST” ขับเคลื่อนความปลอดภัยบนท้องถนนในไทย

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ร่วมกับ กรุงเทพมหานคร และพันธมิตรหลายภาคส่วน ได้แก่ โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent) เพื่อเปิดตัวโครงการ TRUST (Thailand Road Users Safety through Technology) อย่างเป็นทางการ เพื่อทดสอบแนวทางในการใช้ประโยชน์จากข้อมูลเชิงระบบและการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนนในประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2568 นำโดย ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมร. ซูซุมุ มัตสึดะ ผู้อำนวยการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้, มร. ศรีนิวาสะ โปปุริ ผู้อำนวยการโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ สำนักงานโครงการกรุงเทพมหานคร, ศาสตราจารย์ ดร.มนูกิจ พานิชกุล รองอธิการบดีของสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และ นายสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ซึ่งความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวสำคัญในการใช้เทคโนโลยีมาทำการวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการขับขี่บนท้องถนน เพื่อแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุและยกระดับความปลอดภัยทางถนนในประเทศไทย

โครงการ TRUST มีจุดเริ่มต้นจากความมุ่งมั่นของโตโยต้าในการส่งเสริมความปลอดภัยบนท้องถนน โดยถือเป็นหนึ่งในโครงการที่ริเริ่มขึ้นจาก การประชุม Tateshina*¹ ซึ่งจัดขึ้นโดยบริษัทโตโยต้า ณ ประเทศญี่ปุ่น ในการประชุมดังกล่าว โตโยต้าได้เชิญผู้นำจากหลากหลายอุตสาหกรรมเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางความปลอดภัยบนท้องถนน โดยมีเป้าหมายร่วมกันในการขับเคลื่อนสังคมสู่ “Vision Zero” หรือ เป้าหมายลดอุบัติเหตุทางถนนให้เหลือศูนย์ในระดับโลก

*1 Link : https://global.toyota/en/newsroom/corporate/39544702.html

การประชุม Tateshina ที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจัดขึ้นในกลุ่มของ TMF 
รายชื่อผู้เข้าร่วมอนุกรรมการประชุม Tateshina

จากอัตราการเกิดอุบัติเหตุทางถนนที่ยังคงอยู่ในระดับสูงในประเทศไทย ประกอบกับความมุ่งมั่นของโตโยต้าที่ต้องการก้าวสู่การเป็น “Best in Town” มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ จึงได้ริเริ่ม โครงการ TRUST โดยผนึกความร่วมมือกับหลากหลายภาคส่วน เพื่อยกระดับความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างยั่งยืน การดำเนินงานของโครงการแบ่งออกเป็นหลายระยะ โดยเน้นการนำข้อมูลเชิงลึกมาวิเคราะห์เพื่อระบุสาเหตุของอุบัติเหตุ ผ่าน 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ผู้ใช้ถนน ยานพาหนะ ถนนและโครงสร้างพื้นฐาน

ความคิดริเริ่มที่สำคัญ: ระยะนำร่อง (เฟส 1) และการขยายผลสู่เฟส 2 โครงการทดลองระยะที่ 1 (เมษายน 2567 – มิถุนายน 2568)

ในระยะเริ่มต้นของโครงการ มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) ได้ร่วมมือกับ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ทดลองดำเนินงานในพื้นที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา โดยใช้ ข้อมูลจากยานพาหนะของโตโยต้า (Probe Data) เพื่อระบุพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากพฤติกรรมการขับขี่ที่ไม่ปลอดภัย การศึกษานี้มุ่งเน้นไปที่ 5 จุดเสี่ยง ในอำเภอพนมสารคามและอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา โดยวิเคราะห์พฤติกรรมต่างๆ เช่น การเบรกกะทันหัน การเร่งเครื่องอย่างรวดเร็ว การเลี้ยวกระทันหัน ผลการศึกษาในระยะแรกแสดงให้เห็นว่า Probe Data มีศักยภาพในการระบุจุดเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ยังคงมุ่งเน้นไปที่ยานพาหนะสี่ล้อเป็นหลัก ขณะที่อุบัติเหตุทางถนนส่วนใหญ่ในประเทศไทยมักเกี่ยวข้องกับรถจักรยานยนต์ ซึ่งยังคงต้องการข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อให้สามารถทำการวิเคราะห์ได้อย่างครอบคลุมและพัฒนาวิธีการการแก้ไขได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

รูปที่ 2: ตัวอย่างการวิเคราะห์ Probe Data จากรถยนต์

ระยะที่ 2 (พฤษภาคม 2568 – เมษายน 2570)

ในระยะที่ 2 ของโครงการ TRUST มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้จะขยายการใช้แหล่งข้อมูล และเครือข่ายความร่วมมือให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น พร้อมทั้งนำการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงมาใช้ในการประเมินความเสี่ยงและออกแบบมาตรการด้านความปลอดภัยทางถนนอย่างมีประสิทธิภาพ พื้นที่เป้าหมายหลักในระยะนี้คือ เขตจตุจักร  กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุสูง เนื่องจากลักษณะการจราจรที่หนาแน่น และมีโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ครอบคลุมอย่างทั่วถึง

ในระยะนี้ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (RVP) จะเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ โดยให้ ข้อมูลอุบัติเหตุ ซึ่งจะช่วยเสริมความแม่นยำในการวิเคราะห์ พร้อมนำไปสู่การพัฒนาแนวทางจัดการความปลอดภัยบนท้องถนนที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองอย่างแท้จริง

ภาพพื้นที่ทดลองระยะ 2
ถนนในเขตจตุจักร

ความสำเร็จของโครงการ TRUST เกิดขึ้นจากการร่วมมือกันของกลุ่มพันธมิตรหลากหลายภาคส่วน โดยบทบาทที่ได้ลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of Intent)  และแบ่งบทบาทที่ชัดเจน ดังนี้

– กรุงเทพมหานคร (BMA) – สนับสนุนด้านฐานข้อมูล, ภาพจากกล้องวงจรปิด (CCTV), และดำเนินมาตรการด้านความปลอดภัย พร้อมทั้งเป็นผู้ผลักดันโครงการโดยรวม

– โครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-Habitat) – พัฒนาศักยภาพ, สร้างเครือข่ายระดับโลก, และให้ข้อมูลเชิงลึกด้านความปลอดภัยระดับนานาชาติ

– สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) – บริหารจัดการโครงการ, ให้การสนับสนุนทางเทคนิค การวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุและพฤติกรรมเสี่ยง รวมถึงกำกับดูแลด้านวิชาการ

– โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (TMT) – ให้ข้อมูล  probe data และองค์ความรู้จากโครงการ

– โตโยต้าถนนสีขาว เพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยบนท้องถนน มุ่งเน้นการรณรงค์ ส่งเสริม พัฒนาทักษะจากการวิเคราะห์ข้อมูลพฤติกรรมการขับขี่ที่เป็นสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุ

– มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) – สนับสนุนเงินทุนและเทคโนโลยี รวมถึงการนำ AI มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Probe Data, ข้อมูลที่บันทึกเหตุการณ์ที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุ และข้อมูลอุบัติเหตุ

นอกจากนี้ยังได้รับการสนันสนุนข้อมูลจากพันธมิตร ได้แก่

– บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ จำกัด (RVP) – ให้การสนับสนุนข้อมูลสถิติอุบัติเหตุทางถนนในอดีตเพื่อใช้ในการวิเคราะห์และปรับปรุงมาตรการความปลอดภัย

ระยะเวลาดำเนินโครงการและแนวทางการขยายผลในอนาคต

โครงการ TRUST จะเริ่มดำเนินการในดือนพฤษภาคม 2568 ถึง เดือนเมษายน 2570 (ระยะเวลา 2 ปี) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุที่สามารถขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ นอกจากนี้ ความสำเร็จและข้อมูลเชิงลึกจากโครงการ TRUST จะถูกนำเสนอในเวทีนานาชาติเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาความปลอดภัยบนท้องถนนในระดับสากลต่อไป

มร. ซูซูมุ มัตสึดะ ผู้อำนวยการมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ประกาศเปิดตัวโครงการ TRUST ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อลดอุบัติเหตุทางถนนในประเทศไทย โดยอาศัยการใช้ข้อมูลจากยานพาหนะร่วมกับการวิเคราะห์ขั้นสูง เรามุ่งมั่นที่จะสร้างสภาพแวดล้อมบนท้องถนนในกรุงเทพมหานครให้ ปลอดภัยและสะดวกสบายยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีความตั้งใจที่จะ ขยายรูปแบบโครงการนี้ไปยังภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วประเทศไทยในอนาคต วิสัยทัศน์สูงสุดของเราคือการลดจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนให้เป็นศูนย์ ด้วยพลังของ ความร่วมมือ และนวัตกรรมที่สร้างสรรค์”

ดร.ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “ความปลอดภัยบนท้องถนนเป็นวาระสำคัญสำหรับกรุงเทพมหานคร และเราต้องดำเนินมาตรการอย่างจริงจังเพื่อลดอุบัติเหตุและรักษาชีวิตผู้คน การจำกัดความเร็ว, ส่งเสริมการสวมหมวกกันน็อกในกลุ่มผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ และการปรับปรุงสภาพถนน ล้วนเป็นขั้นตอนสำคัญในการทำให้ท้องถนนของเราปลอดภัยยิ่งขึ้น มาตรการเหล่านี้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และสะท้อนถึงความมุ่งมั่นของเราในการปกป้องผู้ใช้รถใช้ถนนทุกคน นอกเหนือจากนโยบาย เรายังมุ่งเน้นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้ดีขึ้น ปรับปรุงทางข้ามถนน และใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายจราจร การสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยบนท้องถนนต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานภาครัฐ ผู้ขับขี่ และประชาชนผู้ใช้ทางเท้า หากเราร่วมมือกัน กรุงเทพมหานครจะกลายเป็นเมืองที่ปลอดภัยและน่าอยู่สำหรับทุกคน”

มร. ศรีนิวาสะ โปปุริ ผู้อำนวยการโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ สำนักงานกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า “เมืองต่างๆ จำเป็นต้องเร่งความพยายามในการพัฒนาความปลอดภัยทางถนนอย่างเร่งด่วน ที่องค์การยูเอ็น-ฮาบิแทต เราเชื่อว่าการใช้ประโยชน์จากโซลูชันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลและความร่วมมือจากภาคส่วนต่างๆ จะเป็นกุญแจสำคัญในการทำให้เมืองมีความปลอดภัยและครอบคลุมมากขึ้น เช่น ความเร็วของยานพาหนะ ปริมาณการจราจร ประเภทของยานพาหนะ และสถานการณ์เสี่ยงที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุ

ศาสตราจารย์ ดร.กัณวีร์ กนิษฐ์พงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย กล่าวว่า “จากการดำเนินงานระยะแรกในจังหวัดฉะเชิงเทรา เราได้ใช้ข้อมูลจาก Probe Data ของยานพาหนะร่วมกับเทคโนโลยี AI ในการรวบรวมและวิเคราะห์สาเหตุของอุบัติเหตุ ควบคู่ไปกับวิธีการดั้งเดิมที่ใช้กันในการศึกษาการเกิดอุบัติเหตุทางจราจร (RC – EXPAND) ซึ่งพบว่ามีข้อได้เปรียบหลายประการที่ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์ หนึ่งในนั้นคือการมีข้อมูลที่ครอบคลุมระยะเวลานานกว่า ซึ่งแตกต่างจากการเก็บข้อมูลโดยมนุษย์ที่มักจำกัดอยู่เพียงช่วงเวลาสั้น ๆ อีกทั้งยังช่วยลดอคติจากการประเมินของมนุษย์ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้ยังให้รายละเอียดสำคัญเกี่ยวกับจราจร เช่น ความเร็วของยานพาหนะ ปริมาณการจราจร ประเภทของยานพาหนะ และสถานการณ์เสี่ยงที่อาจนำไปสู่อุบัติเหตุ”

“อย่างไรก็ตาม เรายังคงเผชิญกับความท้าทายบางประการในการเก็บรวบรวมข้อมูลประเภทนี้ ไม่ว่าจะเป็นต้นทุน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ความรู้และความเชี่ยวชาญของผู้ใช้ข้อมูล อีกทั้งในระยะนี้ เรายังขาดข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การวิเคราะห์ครอบคลุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น”

สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมและความความคืบหน้าต่างๆ ของโครงการ TRUST กรุณาติดต่อ:มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (Toyota Mobility Foundation – TMF) อีเมล : info@toyota-mf.org

เกี่ยวกับมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (Toyota Mobility Foundation – TMF)

มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) ก่อตั้งขึ้นในเดือนสิงหาคม 2557 โดยบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน (Toyota) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาสังคมที่ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกและอิสระยิ่งขึ้น มูลนิธิฯ แสดงถึงความมุ่งมั่นของโตโยต้าต่อแนวคิด การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ การให้ความเคารพต่อผู้คน โดยใช้ความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีที่มี เพื่อสร้างระบบการเดินทางที่มีประสิทธิภาพและลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงการเดินทาง มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ (TMF) ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานภาครัฐ องค์กรไม่แสวงหากำไร สถาบันวิจัย และพันธมิตรอื่น ๆ เพื่อพัฒนาโครงการที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (SDGs) และแก้ไขปัญหาการเดินทางทั่วโลก

มร.อากิโอะ โตโยดะ ประธานมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ กล่าวไว้ว่า “TMF มุ่งสร้างสังคมที่ทุกคนสามารถเดินทางได้อย่างสะดวก เพื่อช่วยให้ผู้คนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็ตาม”

ที่ผ่านมา TMF ได้นำโครงการและความท้าทายด้านการเดินทางไปดำเนินงานในหลายประเทศ เช่น โครงการสาทรโมเดลและโครงการพระราม 4 โมเดลในประเทศไทย, โครงการ CATCH ในมาเลเซีย, STAMP Challenge ในอินเดีย, Sustainable Cities Challenge และ Mobility Unlimited Challenge ในระดับโลก สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TMF และแนวทางการดำเนินงานได้ที่ www.toyotamobilityfoundation.org 

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ ได้ที่มูลนิธิโตโยต้า โมบิลิตี้ อีเมล : info@toyota-mf.org

Toyota Mobility Foundation, Bangkok Metropolitan Administration, UN-Habitat, Asian Institute of Technology and Toyota Motor Thailand Sign a Letter of Intent (LOI) to Launch the TRUST Project for Road Safety in Thailand

The Toyota Mobility Foundation (TMF), in collaboration with the Bangkok Metropolitan Administration (BMA) and key partners, UN-Habitat (UNH), Asian Institute of Technology (AIT) and Toyota Motor Thailand (TMT) have officially launched the TRUST (Thailand Road Users Safety through Technology) Project. This initiative aims to establish the methodology of leveraging systematic data and analytics to reduce traffic accidents in Thailand.

On the same day, a signing ceremony of BMA, UNH, AIT, TMT and TMF was held to formalize the collaboration among the key stakeholders in advancing road safety initiatives. The event was attended by Bangkok Governor – Dr. Chadchart Sittipunt, Chief of UN-Habitat Multi-Country Office – Mr. Srinivasa Popuri, Vice President of Asian Institute of Technology – Professor Manukid Parnichkun, and Executive Vice President of Toyota Motor Thailand Co.,Ltd. – Mr. Surapoom Udomwong, and Director of Toyota Mobility Foundation – Mr. Susumu Matsuda,. This partnership symbolizes a significant step forward in utilizing technology and data-driven solutions to analyze the road accident and driving behavior to enhance road safety in Thailand.

The TRUST project is rooted in Toyota’s global commitment to road safety and is part of a practical initiative that originated from the Tateshina Meeting*1 organized by Toyota in Japan. At this annual meeting, Toyota and leaders from various industries discuss safety initiatives and joint activities to achieve zero road casualties worldwide.

*1 Link : https://global.toyota/en/newsroom/corporate/39544702.html

Figure 1: (left) Tateshina Meeting in Japan among TMF and (right) List Tateshina Sub-committee Participants

Given the per capita accident ratio, and Toyota’s commitment to being Best in Town in Thailand, TMF initiated a multi-phased project to address road safety challenges through collaborative activities with multiple stakeholders. This project employs data-driven analysis to identify the root causes of accidents and enhance road safety based on a three-element approach: people, vehicles, and road infrastructure.

Key Initiative

Pilot Phase 1: (Term April ’24 – June ‘25) The initial phase of the project was conducted in Chachoengsao Province by TMF in partnership with the AIT. This phase utilized probe data from Toyota vehicles to identify high-risk accident zones and unsafe driving behaviors. Five locations in Phanom Sarakham and Mueang Districts were analyzed. The findings indicated that vehicle probe data can identify high-risk locations from sudden braking points and analyze driving behaviors such as sudden acceleration and sharp steering. However, as the initial analysis primarily covered four-wheeled vehicles, and a significant portion of Thailand’s accidents involve motorcycles, TMF would like to extend the dataset in the phase 2 for a more comprehensive analysis.

Figure 2:  Vehicle Probe Data Analysis Example

Phase 2: (May ’25 – Apr ‘27) Phase 2 is set to expand the usage its data sources and collaboration network to be more comprehensive and test more advanced data analytics. The initiative will focus on the Chatuchak District in Bangkok, a higher accident-risk area with heavy traffic, but with comprehensive CCTV coverage. Road Accident Victims Protection Co.,Ltd. (RVP) will support by providing accident data to increase the efficiency of analysis for further development of road safety management.

               Figure 3: Image of trial area of phase2 – Chatuchak road network

Key Collaboration Partners and Contributions The success of the TRUST Project relies on contributions from multiple stakeholders. The partners and their roles are as follows:

– Bangkok Metropolitan Administration – Data access, CCTV footage, and implementation of safety measures. Championing the entire project.

– UN-Habitat – Capacity building, global networking, and insights from international safety initiatives.

– Asian Institute of Technology – Project management and technical contribution, accident and risk behavior analytics, and oversight.

– Toyota Motor Thailand Co.,Ltd. – Provision of probe data and expertise from the White Road Project on Road Safety

– Toyota Mobility Foundation – Project funding and technological support, including introduction of AI-driven analysis of probe data, near-miss and incident data.

Support from data partners;   

– Road Accident Victims Protection Co.,Ltd. – support on the historical road accidents data.

Project Timeline and Future Expansion The TRUST Project will be implemented from May 2025 to April 2027 (2.0 years). The project aims to develop a scalable model for accident prevention, which can be expanded across Bangkok and other provinces. The insights and successes from TRUST will also be shared at international forums to contribute to global road safety advancements.

Director of Toyota Mobility Foundation, Mr. Susumu Matsuda expressed, “We are excited to announce the launch of the TRUST project, which aims to reduce traffic accidents in Thailand. By utilizing vehicle probe data and advanced analytics, we strive to create a safer and more comfortable road environment in Bangkok. Our vision is to eventually expand this model to other regions in Thailand. Our ultimate goal is to achieve zero traffic accident casualties through collaboration and innovative solutions.”

Bangkok Governor, Dr.Chadchart Sittipunt expressed, “Road safety is a crucial issue for Bangkok, and we must take decisive action to reduce accidents and save lives. Lowering speed limits, promoting helmet use among motorcyclists, and improving road conditions are key steps in making our roads safe. These measures align with global standards and reflect our commitment to protecting all road users.”

“Beyond policies, we are also enhancing infrastructure, improving pedestrian crossings, and leveraging technology for better traffic enforcement. Creating a culture of road safety requires cooperation from all parties, including government authorities, drivers, and pedestrians. Together, we can make Bangkok a safer and more livable city for all.”

Chief, UN-Habitat Multi Country Program Office, Regional Office of Asia and The Pacific, UN-Habitat Mr. Srinivasa Popuri expressed “Cities need to urgently accelerate their efforts on road safety. At UN-Habitat, we believe that leveraging data-driven solutions and collaborative partnerships is key to making cities safer and more inclusive.”

Director of Thailand Accident Research Center of AIT, Professor Kunnawee Kanitpong expressed “From the first phase of operations in the Chachoengsao area, probe data from vehicles and AI technology were used to collect and analyze accident causes in addition to the usual methods used by Traffic Accident (RC – EXPAND). We found some advantages that helped our work to be more accurate, such as the amount of data covering a longer period, while human data collection might only be for a certain period and reduce bias from human analysis. It provided traffic information, including speed, vehicle volume, vehicle types, and traffic conflicts. However, there are still challenges in collecting this data, such as costs, knowledge of data users, and in this phase, we still lack data on motorcycle drivers

For more information about the TRUST Project and its progress, please contact: Toyota Mobility Foundation , E-mail: info@toyota-mf.org

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,300SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles