สิงคโปร์ วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2566 คอนติเนนทอลประกาศการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU) สามฉบับร่วมกับพันธมิตรระดับโลกและท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนการวิจัยในสิงคโปร์ด้านการสร้างระบบนิเวศการคมนาคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การร่วมมือระหว่างคอนติเนนทอล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง (NTU) และ โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น มุ่งพัฒนาระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า การร่วมมือกับคณะกรรมาธิการพลังงานทางเลือกฝรั่งเศส (CEA) และ NTU ในวิจัยโซลูชันใหม่ของการรีไซเคิลชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากยานยนต์ที่หมดอายุการใช้งาน บันทึกความเข้าใจระหว่าง NTU และ Pylon City ครอบคลุมการศึกษาระบบชาร์จอัจฉริยะและการเพิ่มประสิทธิภาพแบตเตอรี่ของรถยนต์ไฟฟ้า ภายใต้บันทึกความเข้าใจนี้ คอนติเนนทอลและ Pylon City มีเป้าหมายที่จะสนับสนุนการพัฒนามาตรฐานระดับชาติสำหรับโครงสร้างพื้นฐานในการชาร์จหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติกลางแจ้ง
“คอนติเนนทอลมีความยินดีที่ได้ร่วมงานกับผู้เล่นที่อยู่ในอุตสาหกรรมและสถาบันวิจัยที่ได้รับการยกย่อง เพื่อเร่งอนาคตของการคมนาคมที่ยั่งยืน ด้วยการร่วมใช้ประโยชน์จากความสามารถและทรัพยากรของพันธมิตร เราสามารถบุกเบิกโซลูชั่นนวัตกรรมเพื่อเปลี่ยนแปลงภาคส่วนยานยนต์และพัฒนามาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมและสร้างระบบนิเวศที่ยั่งยืนมากขึ้นสำหรับอนาคต” Lo Kien Foh ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของคอนติเนนทอล ออโตโมทีฟ สิงคโปร์กล่าว
“ความร่วมมือเหล่านี้สอดคล้องกับความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของคอนติเนนทอลซึ่งครอบคลุมในแง่มุมต่างๆ เช่น ความเป็นกลางทางคาร์บอน ความรับผิดชอบในห่วงโซ่คุณค่า และการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน” Lo Kien Foh กล่าวเสริม
MoU 1: คอนติเนนทอล NTU และโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น มุ่งมั่นปฏิวัติการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า
โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป ตระหนักว่าโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการชาร์จและการจัดหาพลังงานที่ยั่งยืนนั้นเป็นเสาหลักในการขับเคลื่อนการเดินทางด้วยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ในอนาคต โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น กำลังเร่งดำเนินการในการเปลี่ยนผ่านพลังงานไฟฟ้าโดยร่วมมือกับแล็บของคอนติเนนทอลและ NTU เพื่อสำรวจระบบการจัดการพลังงานอัจฉริยะ
ด้วยความร่วมมือนี้ แผนกนวัตกรรมของผู้ผลิตรถยนต์สัญชาติเยอรมันชื่อดังจะประเมินข้อได้เปรียบของการกำหนดราคาแบบไดนามิคในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน โครงการริเริ่มการวิจัยร่วมกันนี้มีความพยายามที่จะใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อส่งเสริมการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าในช่วงเวลาปกติหรือเมื่อมีแหล่งพลังงานทดแทนมากมาย
“โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป อินโนเวชั่น ยังคงแน่วแน่ในการอุทิศตนเพื่อพัฒนาวิสัยทัศน์ ในการเป็นผู้นำด้านการคมนาคมที่ยั่งยืนและการเข้าถึงเครือข่ายที่เป็นกลางภายในปีพ.ศ. 2593 ด้วยศูนย์กลางแห่งนวัตกรรมในสิงคโปร์ เรามีส่วนร่วมอย่างแข็งขันในการเป็นพันธมิตรร่วมกับนักสร้างสรรค์นวัตกรรมชั้นนำเพื่อทดสอบเทคโนโลยีการขับเคลื่อนที่ก้าวล้ำ โดยเน้นที่โซลูชั่นการขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าที่พร้อมสำหรับการพัฒนาต่อไปในระดับโลก ความร่วมมือของเรากับคอนติเนนทอลและ NTU เป็นตัวอย่างความมุ่งมั่นของเราต่อนวัตกรรมที่ล้ำสมัย เช่น โมเดลการกำหนดราคาแบบไดนามิคสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า โดยในการทำงานร่วมกันนั้น เราควบคุมและใช้ประโยชน์จากข้อมูลแบบเรียลไทม์และปัญญาประดิษฐ์เพื่อสำรวจบุกเบิกวิธีการลดการปล่อยก๊าซจากการชาร์จและสร้างมาตรฐานใหม่ในการเดินทางโดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม” Petromil Petkov หัวหน้าศูนย์นวัตกรรมแห่งสิงคโปร์ กล่าว
“เราภูมิใจที่ได้ร่วมงานกับคอนติเนนทอล และ NTU ในความพยายามบุกเบิกของพวกเขา วิสัยทัศน์ที่เรามีร่วมกันด้านการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการใช้พลังงานไฟฟ้ามากขึ้นนั้นสอดคล้องกับความมุ่งมั่นระดับโลกของ โฟล์คสวาเกนในด้านการขนส่งที่ยั่งยืน เราไม่เพียงแต่ทุ่มเทในการเปิดรับการขับเคลื่อนด้วยพลังงานไฟฟ้าโดยการเป็นหนึ่งในตลาดแรกๆของโลกที่นำเสนอรถยนต์ไฟฟ้าต่างๆของโฟล์คสวาเกน สโกด้า และคูปร้า แต่ยังมีส่วนร่วมในโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการจ่ายพลังงานให้กับรถยนต์เหล่านั้นอย่างยั่งยืน” ดร. Kurt Leitner กรรมการผู้จัดการโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป สิงคโปร์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพของโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป ภายในประเทศ กล่าว
MoU 2: คอนติเนนทอล CEA และ NTU ร่วมมือพัฒนาโซลูชั่นการหมุนเวียนของอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์
หนึ่งในความมุ่งมั่นของคอนติเนนทอลคือการบรรลุเป้าหมาย 100 เปอร์เซ็นต์ในทรัพยากรแบบปิดและวงจรผลิตภัณฑ์ภายในปีพ.ศ. 2593 โดยผู้เชี่ยวชาญของบริษัทจะทำงานร่วมกับนักวิจัยเพื่อศึกษาความยั่งยืนของอิเล็กทรอนิกส์ในยานยนต์ การค้นคว้าจะดำเนินการที่ศูนย์วิจัยในประเทศสิงคโปร์โดย CEA และ NTU หรือที่เรียกว่า NTU Singapore-CEA Alliance for Research in Circular Economy (SCARCE) คอนติเนนทอลและ SCARCE จะศึกษาการพัฒนาการหมุนเวียนของ PCB ในยานยนต์ เช่น การออกแบบเชิงนิเวศน์เพื่ออำนวยความสะดวกในการแยกชิ้นส่วน PCB ที่ใช้แล้วและการเรียงลำดับส่วนประกอบอัตโนมัติด้วยโซลูชันอัจฉริยะ เช่น การเรียนรู้ของเครื่อง
“ด้วยพลังการขับเคลื่อนจากซอฟต์แวร์ที่ก้าวล้ำและการติดตั้งระบบควบคุมโดยอิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้น ยานยนต์จึงมีความก้าวหน้าอย่างมากและการพึ่งพาเทคโนโลยีจะมีความสำคัญมากขึ้น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จะมีบทบาทที่จำเป็นเนื่องด้วยในอนาคตยานยนต์จะพัฒนาไปสู่คอมพิวเตอร์ที่เคลื่อนที่ได้ และเนื่องจากอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์นั้นมีเทคโนโลยีสูงมากขึ้น จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นด้วย เมื่อร่วมมือกับคอนติเนนทอล เรามุ่งหวังที่จะบรรลุความเป็นหมุนเวียนที่มากขึ้นในขณะที่เราเราระบุแนวทางแก้ไขและแบ่งปันคำแนะนำในการนำขยะอิเล็กทรอนิกส์กลับมาใช้ใหม่ในอุตสาหกรรม” Jean Christophe Gabriel ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย CEA และผู้อำนวยการร่วมของ SCARCE กล่าว
ตามเอกสารรายงานของ KPMG ปริมาณสารกึ่งตัวนำในรถยนต์จะเพิ่มขึ้นมากถึงสิบเท่าในอนาคต เนื่องจากแนวโน้มของยานยนต์ เช่น ความเป็นอิสระ การใช้พลังงานไฟฟ้า การเชื่อมต่อ และความคล่องตัวในรูปแบบการบริการ (MaaS) โดยแนวโน้มนี้ได้ตอกย้ำความต้องการที่เพิ่มขึ้นในการค้นหาโซลูชันที่เป็นนวัตกรรมเพื่อจัดการและรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ในวงกว้าง
เนื่องจากชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้แล้วส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ซ้ำหรือนำกลับมาใช้ใหม่ การวิจัยร่วมกับ SCARCE จึงพยายามที่จะทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นถึงความอยู่รอดทางเศรษฐกิจในการรีไซเคิล PCB นอกจากนี้ ความร่วมมือนี้ยังมุ่งมั่นที่จะจัดทำแนวทางในการออกแบบยานพาหนะเพื่อให้มั่นใจด้านความยั่งยืนจะได้รับการจัดลำดับความสำคัญและรวมอยู่ในกระบวนการผลิตรถยนต์ในอนาคตแบบครบวงจร
MoU 3: คอนติเนนทอล NTU และ Pylon City ร่วมมือกันเพื่อสร้างระบบนิเวศรถยนต์ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากขึ้น
ด้วยการเติบโตของกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศสิงคโปร์รวมถึงการแบ่งปันการใช้รถยนต์หรือการขนส่ง ทำให้ความต้องการของเครื่องชาร์จและการใช้พลังงานนั้นเพิ่มขึ้นตามลำดับ จึงทำให้เกิดความท้าทายใหม่ๆ เช่น การปรับอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นและการสร้างความมั่นใจแก่โครงข่ายไฟฟ้าที่จะไม่ได้รับภาระมากเกินไป การทำงานผ่านแล็ปของคอนติเนนทอลและ NTU นั้น คอนติเนนทอลและ NTU ร่วมกับ Pylon City จะร่วมมือกันศึกษาและพัฒนาอัลกอริธึมการกำหนดเวลาการชาร์จที่ตอบสนองความต้องการตามสถานีเพื่อลดการเสื่อมสภาพของแบตเตอรี่ในขณะที่ยังคงรักษาระดับการบริการสำหรับกลุ่มรถยนต์ไฟฟ้า
อัลกอริธึมดังกล่าวจะปูทางไปสู่การใช้งานรถยนต์ไฟฟ้าที่ดีขึ้นรวมถึงการแบ่งปันการควบคุมความต้องการของการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าผ่านระบบการจัดการยานยนต์อัจฉริยะ ระบบนี้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพของระดับการชาร์จ ตารางเวลา ระยะเวลา และสถานที่ชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าได้ นอกจากนี้ยังสามารถยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้าให้ยาวนานสูงสุดเพื่อการใช้งานที่ยั่งยืน
“ขณะที่เมืองต่างๆ เช่น สิงคโปร์ ผลักดันให้มีการใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ พวกเขานั้นต้องมีความมั่นใจในโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้านั้นได้รับการพัฒนาพร้อมทั้งสร้างความมั่นใจในความเป็นอยู่ที่ดีของสภาพแวดล้อมของเรา ด้วยความเชี่ยวชาญเชิงลึกของ NTU ด้านการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าและเทคโนโลยีแบตเตอรี่ เราหวังว่าจะพัฒนาระบบนิเวศที่ยั่งยืนสำหรับการชาร์จไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการบุกเบิกและเรียนรู้เพื่อจัดการอุปทานและอุปสงค์ของการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ ความยั่งยืนและความร่วมมือในอุตสาหกรรมนั้นเป็นเสาหลักภายใต้แผนยุทธศาสตร์ NTU 2025 และเราหวังว่าจะได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับคอนติเนนทอล และ Pylon City เพื่อออกแบบ พัฒนา และใช้งานระบบที่เหมาะสมที่สุดเพื่อนำพาประเทศสิงคโปร์เข้าสู่การขับเคลื่อนอนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” Lam Khin Yong รองอธิการบดี NTU (ภาคอุตสาหกรรม) กล่าว
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว สถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าสำหรับการใช้งานเชิงพาณิชย์จำนวนสองแห่งจะถูกสร้างขึ้นที่สำนักงานของคอนติเนนทอลประเทศสิงคโปร์ให้สำหรับผู้ประกอบการรถยนต์ไฟฟ้า โดยพลังงานที่กักเก็บในหลังคาพลังงานแสงอาทิตย์จะมีส่วนช่วยโดยตรงในการชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์ ในขณะที่ข้อมูลที่รวบรวมจากสถานีชาร์จจะให้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อสนับสนุนโครงการวิจัยร่วมกัน โดยสถานีชาร์จจะเปิดให้บริการในไตรมาสที่สี่ของปีพ.ศ. 2566
เนื่องจากธุรกิจต่างๆ หันมาใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติมากขึ้นโดยเป็นส่วนหนึ่งของระบบอัตโนมัติ คอนติเนนทอลและ Pylon City จะขับเคลื่อนการพัฒนา การทดลองใช้ และกำหนดมาตรฐานโครงสร้างพื้นฐานของการชาร์จหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติกลางแจ้งในประเทศสิงคโปร์เพื่อสนับสนุนความก้าวหน้าของประเทศในการมุ่งสู่เป้าหมายเป็นประเทศอัจฉริยะ โดยทุกฝ่ายจะจัดตั้งและเป็นผู้นำคณะกรรมการที่จะประกอบด้วยผู้เล่นในอุตสาหกรรมอื่นๆด้วยเพื่อสร้างข้อมูลอ้างอิงด้านเทคนิคซึ่งมีส่วนสร้างมาตรฐานระดับชาติในอนาคต ต้นแบบเครื่องชาร์จหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติจะถูกนำไปใช้กับอาคารของคอนติเนนทอลและสถานที่ทดสอบอื่นๆเพื่อตรวจสอบข้อกำหนดการชาร์จที่แตกต่างกัน เช่น ขั้วต่อการชาร์จและระดับพลังงาน
Vincent Lau ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยีของ Pylon City กล่าวว่า “เราปรารถนาที่จะทำให้เมืองต่างๆเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและประหยัดพลังงานมากขึ้น เรารู้สึกยินดีที่ได้เห็นธุรกิจต่างๆใช้ประโยชน์จากและบูรณาการเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น เช่น การใช้หุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติในกระบวนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับโซลูชันไฟฟ้าอัจฉริยะและการอำนวยความสะดวกในการใช้งานของหุ่นยนต์เคลื่อนที่อัตโนมัติกลางแจ้งในวงกว้าง การนำมาตรฐานระดับชาติมาใช้ถือว่าเป็นกุญแจสำคัญ สิ่งนี้จะสร้างความมั่นใจให้ผู้เล่นในอุตสาหกรรมว่าความต้องการของพวกเขาจะได้รับการตอบสนอง รวมถึงความพร้อมใช้งานและคุณภาพของสถานีที่เชื่อมต่อทั่วสิงคโปร์หรือการทำให้เครื่องชาร์จตรงตามข้อกำหนดต่างๆ เช่น ความสามารถในการทำงานร่วมกันและความปลอดภัย”
คอนติเนนทอล ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2414 พัฒนาเทคโนโลยีและบริการที่ก้าวล้ำสำหรับยานยนต์ที่มีการเชื่อมต่อและความยั่งยืนให้กับผู้คนและสินค้า โดยนำเสนอวิธีการที่ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ ชาญฉลาด และราคาไม่แพงให้กับยานยนต์ เครื่องจักร การจราจร ตลอดจนการขนส่ง ในปี 2565 คอนติเนนทอลมียอดขายสูงถึง 39.4 พันล้านยูโร และมีพนักงานประมาณ 200,000 คนใน 57 ประเทศทั่วโลก
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางประเทศสิงคโปร์
มหาวิทยาลัยของรัฐที่เน้นการวิจัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยาง ประเทศสิงคโปร์ (NTU) มีนักศึกษาระดับปริญญาตรีและสูงกว่าปริญญาตรีจำนวน 33,000 คนในสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ธุรกิจ วิทยาศาสตร์ การแพทย์ มนุษยศาสตร์ ศิลปะ สังคมศาสตร์ และวิทยาลัยระดับบัณฑิตศึกษา
NTU ยังเป็นที่ตั้งของสถาบันอิสระที่มีชื่อเสียงระดับโลก เช่น National Institute of Education, S Rajaratnam School of International Studies และ Singapore Centre for Environmental Life Sciences Engineering รวมถึงศูนย์วิจัยชั้นนำต่างๆ เช่น Earth Observatory of Singapore, Nanyang Environment & Water Research และสถาบันวิจัยพลังงาน ERI@N
ภายใต้วิสัยทัศน์ NTU Smart Campus มหาวิทยาลัยใช้ประโยชน์จากพลังของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนประสบการณ์การเรียนรู้และการใช้ชีวิตที่ดีขึ้น รวมถึงการค้นคว้าความรู้ใหม่ๆและความยั่งยืนของทรัพยากร
วิทยาเขตหลักของมหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และยังได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สวยที่สุดในโลกอีกด้วย NTU เป็นที่รู้จักในด้านความยั่งยืน โดยได้รับการรับรอง Green Mark Platinum 100% สำหรับโครงการก่อสร้างที่เข้าเกณฑ์ทั้งหมด นอกเหนือจากวิทยาเขตหลักแล้ว NTU ยังมีวิทยาเขตทางการแพทย์ใน Novena ซึ่งเป็นย่านการดูแลสุขภาพของประเทศสิงคโปร์อีกด้วย ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ntu.edu.sg
โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป สิงคโปร์
มีสำนักงานใหญ่ในเมืองโวล์ฟสบวร์ก เป็นหนึ่งในผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก และเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดในยุโรป โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป สิงคโปร์ เป็นบริษัทในเครือ Porsche Holding Salzburg มีโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป เป็นเจ้าของโดยสมบูรณ์ ผลงานของบริษัทได้แก่ Volkswagen Passenger Cars, Volkswagen Commercial Vehicles, Skoda, CUPRA และ Das WeltAuto เป็นโครงการรถยนต์มือสองที่ได้รับการรับรองระดับโลกของโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป สิงคโปร์ โดยนำเข้าและขายปลีกรถยนต์ Volkswagen, Skoda และ CUPRA โดยตรง ด้วยการขายปลีกให้ลูกค้าโดยตรง โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป สิงคโปร์ จึงจัดอยู่ในระดับแนวหน้าของตลาดรถยนต์ในสิงคโปร์และยังสร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นระหว่างแบรนด์กับบุคคลที่สำคัญต่างๆ โฟล์คสวาเกน กรุ๊ป สิงคโปร์ มอบประสบการณ์อันทรงคุณค่าแก่ลูกค้าพร้อมศูนย์บริการที่เพียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ใหม่ล่าสุด โดยมีการลงทุนด้านทรัพยากรบุคคลและกระบวนการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อบริการลูกค้าทั้งด้านการขายและหลังการขายในระดับสูงสุด เป้าหมายของโฟล์คสวาเกน กรุ๊ป คือ นำเสนอรถยนต์ที่น่าดึงดูด ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานโลก
CEA
คณะกรรมการพลังงานทดแทนและพลังงานปรมาณู (CEA) เป็นองค์กรวิจัยทางวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส ภารกิจของบริษัทคือการจัดหาทรัพยากรทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ช่วยให้บริษัทต่างๆและหน่วยงานท้องถิ่นสามารถควบคุมการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมได้ดียิ่งขึ้น ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน เทคโนโลยีดิจิทัล การดูแลสุขภาพในอนาคต การป้องกันประเทศ และความมั่นคงระดับโลก พนักงาน 20,000 คนซึ่งทำงานใจกลางประเทศฝรั่งเศสในศูนย์วิจัยจำนวน 9 แห่งโดยมีศูนย์วิจัยหลักๆที่ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาและอุตสาหกรรมทั้งในประเทศฝรั่งเศส ทวีบยุโรป และต่างประเทศในด้านเศรษฐกิจหมุนเวียน ในปีพ.ศ.2561 บริษัทได้สร้างห้องปฏิบัติการร่วมแห่งแรกนอกประเทศฝรั่งเศส นั่นคือ NTU Singapore – CEA Alliance for Research in Circular Economy (SCARCE) ซึ่งปัจจุบันมุ่งเน้นการวิจัยและนวัตกรรมเกี่ยวกับการรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์
Pylon City
Pylon City ช่วยให้เจ้าของอสังหาริมทรัพย์สามารถติดตาม ดำเนินการอัตโนมัติ และรับผิดชอบต่อความยั่งยืนด้านพลังงาน และขายพลังงานสะอาดให้แก่ผู้เช่าและเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า Pylon City เป็นสตาร์ทอัพด้านอินเทอร์เน็ตพลังงานที่เป็นนวัตกรรมซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในประเทศสิงคโปร์โดยได้พัฒนาโซลูชันพลังงานที่ยั่งยืนในเมืองมาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2561