32.4 C
Bangkok
Wednesday, January 22, 2025
Honda_900x192px 2024
163732
FORD900x192px_1
Mitsubishi_900x192px_2
previous arrow
next arrow

วิกฤติพลังงานยุโรป-รัสเซีย-ยูเครน ทำราคาน้ำมันดิบปรับขึ้น

ปตท. เผยผลวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 24-28 ม.ค. 65 และแนวโน้ม 31 ม.ค.-4 ก.พ. 65 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 88.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +1.02 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 85.94 เหรียญต่อบาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +0.17 เหรียญ สหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 86.73 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +0.89 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +2.55 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 102.04 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง +1.90 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 103.69 เหรียญสหรัฐฯ

น้ำมันดิบเฉลี่ยรายสัปดาห์ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ทำสถิติปิดตลาดเหนือระดับ 90 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล เป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี จากความกังวลต่อความตึงเครียดบริเวณชายแดนรัสเซียและยูเครน โดยรัสเซียตรึงกำลังทหารกว่า 120,000 นาย ในเบลารุส ซึ่งมีพรมแดนติดกับทางตอนเหนือของยูเครน เพื่อกดดันยูเครนและหลายประเทศในยุโรป เนื่องจากไม่ต้องการให้ยูเครนเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization: NATO) สหรัฐฯ และหลายประเทศในยุโรปจะรับรองยูเครนเข้าเป็นสมาขิก NATO จะมีมาตรการส่งกองกำลังและอาวุธยุทโธปกรณ์ให้แก่ประเทศที่เป็นสมาชิกหากมีการคุกคามจากประเทศอื่น

Jens Stoltenberg เลขาธิการใหญ่ของ NATO เตือนยุโรปจะต้องจัดหาแหล่งพลังงานสำรองอื่น เพราะมีแนวโน้มที่รัสเซียจะใช้การนำเข้าก๊าซธรรมชาติของยุโรปเป็นข้อต่อรอง ซึ่งยุโรปนำเข้าก๊าซฯ จากรัสเซียในปี 2564 อยู่ที่ 1,549 เทราวัตต์ต่อชั่วโมง (TWh) คิดเป็น 38% ของปริมาณการใช้ก๊าซฯ ในยุโรป รวมทั้ง FGE คาดการณ์หากสหรัฐฯ ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย อาจส่งผลให้อุปทานน้ำมันของรัสเซียหายจากตลาดน้ำมันโลกถึง 7 ล้านบาร์เรลต่อวัน และจะสนับสนุนให้ราคาน้ำมันดิบปรับตัวสูงขึ้น ทั้งนี้ รัสเซียผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทในเดือน ธ.ค.64 อยู่ที่ 10.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน

ด้านเศรษฐกิจ เมื่อวันที่ 25 ม.ค. 65 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0-0.25% โดย Jerome Powell ประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ส่งสัญญาณปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งถัดไปใน 15-16 มี.ค. 65 และยืนยันยกเลิกมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณทางการเงิน (Quantitative Easing: QE) ในเดือน มี.ค. 65 โดย Bank of America (BoA) คาดการณ์ Fed จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งละ 0.25% เป็นจำนวน 7 ครั้ง ในปี 2565 เพื่อชะลออัตราเงินเฟ้อ

ด้านเทคนิค สัปดาห์นี้ราคา ICE Brent มีแนวโน้มอยู่ในกรอบ 88 – 93.2 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

Platts รายงานโรงกลั่นของรัฐบาลจีน ประกอบด้วย Sinopec, PetroChina, CNOOC และ Sinochem นำน้ำมันดิบเข้ากลั่น (Refinery Throughput) ในเดือน ม.ค. 65 เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73 จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ 7.74 ล้านบาร์เรลต่อวัน ของกำลังการกลั่นรวม 9.59 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพื่อรองรับอุปสงค์ในช่วงโอลิมปิกฤดูหนาว ซึ่งจะจัดขึ้นใน 4-20 ก.พ. 65 

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

EIA รายงานปริมาณสำรองน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ที่สหรัฐฯ สัปดาห์สิ้นสุด 21 ม.ค. 65 เพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรล จากสัปดาห์ก่อนหน้า มาอยู่ที่ 416.2 ล้านบาร์เรล สูงสุดในรอบ 3 สัปดาห์

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,200SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles