ปตท.เผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 30 พ.ค.–3 มิ.ย. 65 และแนวโน้ม 6-10 มิ.ย. 65 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 118.18 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +2.61 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 116.42 เหรียญต่อบาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.51 เหรียญ สหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 112.77 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +3.22 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +4.53 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 154.12 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาเพิ่มขึ้น +16.82 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 166.39 เหรียญสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น หลังจากสหภาพยุโรป (EU) ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย รอบที่ 6 ซึ่งรวมถึงน้ำมัน ทำให้อุปทานพลังงานมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับอุปสงค์พลังงานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากจีนประกาศผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เมือง Shanghai
ติดตามสหรัฐฯ มีแนวโน้มจะผ่อนคลายความเข้มงวดในการดำเนินมาตรการคว่ำบาตรน้ำมันอิหร่าน ตามที่ประธาน Vitol Group สาขาเอเชีย Mike Muller ตั้งข้อสังเกต ทั้งนี้ อิหร่านส่งออกน้ำมันดิบสู่จีนในเดือน เม.ย.65 ปริมาณ 645,000 บาร์เรลต่อวัน และปัจจุบันอิหร่านมีน้ำมันดิบในคลังสำรองอยู่ราว 100 ล้านบาร์เรล ซึ่งพร้อมส่งออกได้ทันที
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก
* สหภาพยุโรป (EU) ประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย โดยให้ชาติสมาชิกยุติการซื้อนำเข้าน้ำมันดิบจากรัสเซียที่ขนส่งทางเรือภายใน 6 เดือน และยุติการซื้อนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากรัสเซียภายใน 8 เดือน รวมถึงคว่ำบาตรเรือบรรทุกน้ำมันรัสเซีย และการประกันภัย โดยให้เวลา 6 เดือน เพื่อยกเลิกสัญญาการจ้างเรือที่มีอยู่ อนึ่งการคว่ำบาตรจะเริ่มตั้งแต่วันที่ประกาศใน Official Journal ของ EU
* เมือง Shanghai ของจีนประกาศผ่อนคลายมาตรการ Lockdown เข้มข้น โดยอนุญาตให้ชาวเมืองออกจากบ้าน และขับรถ ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 65 เป็นต้นไป โดยครอบคลุมพื้นที่ความเสี่ยงต่ำ มีชาวเมืองประมาณ 22.3 ล้านคน (จาก 25 ล้านคน)
* Arabian Gulf Oil Co. (Agoco) ของลิเบีย เป็นบริษัทลูกของ National Oil Corp. (NOC) รายงานท่อส่งน้ำมัน Sarir-Tobruk (200,000 บาร์เรลต่อวัน) รั่วไหล ทำให้การผลิตลดลง 22,000 บาร์เรลต่อวัน โดยเป็นผลมาจากเงินทุนไม่เพียงพอ ทำให้บริษัทไม่สามารถดำเนินการบำรุงรักษาท่อขนส่งน้ำมันต่างๆ ได้ ทั้งนี้ ลิเบียผลิตน้ำมันดิบอยู่ที่ระดับ 750,000 บาร์เรลต่อวัน
ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ * 2 มิ.ย.65 ที่ประชุมกลุ่ม OPEC+ มีมติผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 648,000 บาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.ค. และ ส.ค.65 สูงกว่าข้อตกลงเดิม (เพิ่มขึ้นเดือนละ 432,000 บาร์เรลต่อวัน ในช่วง ก.ค.- ก.ย. 65)