24.3 C
Bangkok
Sunday, December 15, 2024
รถ​ Mitsubishi
163732
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
previous arrow
next arrow

ปัจจัยลบกระหน่ำทำยอดขายรถยนต์เมืองไทยเดือนกันยาฯ ลดลง 16.3%

ตลาดรถยนต์เมืองไทยประจำเดือนกันยายน 2566 ชะลอตัว โกยยอดขายได้ทั้งสิ้น 62,086 คัน ลดลง 16.3% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากสถาบันการเงินหรือไฟแนนซ์เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ประกอบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ จับตาไตรมาสสุดท้ายไฮซีซัน (ตุลาคม-ธันวาคม 2566) มีแนวโน้มสดใส

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2566 ด้วยยอดขาย 62,086 คัน ลดลง 16.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่รถยนต์นั่งยังเติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 25,425คัน เติบโต 10.4% ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยยอดขาย 36,661 คัน ลดลง 28.3% โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ ชะลอตัวอย่างหนักด้วยยอดขาย 23,343 คัน ลดลง 43.6%

              ตลาดรถยนต์กันยายนชะลอตัวต่อเนื่อง 16.3% ด้วยยอดขาย 62,086 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งยังเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 10.4% ด้วยยอดขาย 25,425 คัน เป็นผลมาจากการเติบโตของเซกเมนต์อีโคคาร์ด้วยยยอดขาย 15,368 คัน ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวที่ 28.3% ด้วยยอดขาย 36,661 คัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน หดตัวถึง 43.6% ด้วยยอดจำหน่าย 23,343 คัน จากการชะลอการตัดสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของภาคประชาชน และภาคธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจขนส่ง อันเป็นผลมาจากภาพรวมทางเศรษฐกิจ ที่ยังต้องใช้เวลาในการฟื้นตัว โดยมีอุปสรรคสำคัญคือความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ที่มีความกังวลต่อหนี้เสียอันเป็นผลต่อเนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา

              ตลาดรถยนต์ตุลาคมเดินหน้าเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่นส์ไตรมาสสุดท้ายของปี ซึ่งค่ายรถยนต์ต่างทยอยเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ พร้อมด้วยแคมเปญส่งเสริมการขายเพื่อหวังกระตุ้นยอดขาย อย่างไรก็ตามความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินยังคงเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดรถยนต์ต่อไป

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2566

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 62,086 คัน ลดลง 16.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,141 คัน ลดลง 7.9 % ส่วนแบ่งตลาด 34.1%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,898 คัน ลดลง 49.5% ส่วนแบ่งตลาด 17.6%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า 9,113 คัน เพิ่มขึ้น 34.2% ส่วนแบ่งตลาด 14.7%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 25,425 คัน เพิ่มขึ้น 10.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,922 คัน เพิ่มขึ้น 34.4% ส่วนแบ่งตลาด 39.0%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,212 คัน ลดลง 29.3% ส่วนแบ่งตลาด 16.6%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,083 คัน ลดลง 39.6% ส่วนแบ่งตลาด 4.3%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,661 คัน ลดลง 28.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 11,219 คัน ลดลง 28.0% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,898 คัน ลดลง 49.5% ส่วนแบ่งตลาด 29.7%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 4,901 คัน เพิ่มขึ้น 489.1% ส่วนแบ่งตลาด 13.4%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 23,343 คัน ลดลง 43.6%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,547 คัน ลดลง 27.9% ส่วนแบ่งตลาด 40.9%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,298 คัน ลดลง 54.0% ส่วนแบ่งตลาด 39.8%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,946 คัน ลดลง 41.2% ส่วนแบ่งตลาด 12.6%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,229 คัน

โตโยต้า 1,607 คัน – อีซูซุ 1,343 คัน – ฟอร์ด 936  คัน – มิตซูบิชิ 255 คัน – นิสสัน 88 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 19,114คัน ลดลง 45.0%

อันดับที่ 1 อีซูซุ 7.955 คัน ลดลง 56.9% ส่วนแบ่งตลาด 41.6 %

อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,940 คัน ลดลง 23.6% ส่วนแบ่งตลาด 41.5%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,010 คัน ลดลง 44.2% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles