29.9 C
Bangkok
Monday, April 21, 2025
https://www.motorshow.in.th/en/home-en/
https://www.mercedes-benz.co.th/th
https://www.ford.co.th/showroom/all-offers/
Mitsubishi Xpander Cross
163732
Banner BIMS2025
BENZ_SL_900x192px
FORD900x192px_1
Mitsubishi900x192px_1
previous arrow
next arrow

การรถไฟแห่งประเทศไทย และ ROCTEC ลงนามสัญญาสำคัญ โครงการติดตั้งระบบโครงข่ายโทรคมนาคม

การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ลงนามในสัญญาความร่วมมือกับบริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด (มหาชน) (ROCTEC) สำหรับโครงการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคม ร่วมกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท สกาย ไอซีที จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูไนเต็ด เทเลคอม เซลส์ แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ROCTEC เป็นผู้ให้บริการโซลูชันด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปีในด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคม และมีผลงานในระบบ ICT สำหรับการรถไฟในประเทศฮ่องกง จะร่วมมือกับพันธมิตรในกลุ่มกิจการร่วมค้าในการออกแบบ และติดตั้งเครือข่ายไฟเบอร์ออปติกความเร็วสูง (High-speed fibre optic) ทั่วระบบรางของ รฟท. โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพด้านความปลอดภัยของระบบรถไฟ การดำเนินงาน การบริหารจัดการ และการให้บริการแก่ผู้โดยสาร พร้อมทั้งวางรากฐานสำหรับการพัฒนาและความร่วมมือระยะยาวในอนาคต

นายเว่ย แซม แลม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ร็อคเทค โกลบอล จำกัด (มหาชน) (“ROCTEC”) เปิดเผยว่า โครงการนี้นับเป็นก้าวสำคัญในการยกระดับและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมของการรถไฟแห่งประเทศไทยให้ทันสมัย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการสื่อสาร เสริมความสามารถในการควบคุมขบวนรถไฟ และลดต้นทุนในการดำเนินงาน “พวกเรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีส่วนร่วมสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบรางดิจิทัลของประเทศไทย โครงสร้างพื้นฐานใหม่นี้จะช่วยให้ รฟท. ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รองรับการขยายเครือข่ายในอนาคต และสามารถเชื่อมต่อกับระบบรถไฟความเร็วสูงได้อย่างไร้รอยต่อ โครงการนี้สอดคล้องกับแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับประเทศ และจะมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศ” โดยโครงการนี้มีกำหนดแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 2 ปี

โครงการติดตั้งระบบเครือข่ายโทรคมนาคมมีวัตถุประสงค์ในการบูรณาการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) เข้ากับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางอัจฉริยะใน 2 ส่วนหลัก ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง การก่อสร้างโครงข่ายหลักของระบบโทรคมนาคม (Telecommunications Backbone) ซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์ส่งสัญญาณ เช่น ระบบมัลติเพล็กซ์แบบความยาวคลื่นหนาแน่น (Dense Wavelength Division Multiplexing: DWDM), เครือข่าย IP/MPLS, ระบบ IP-Backbone, ระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย IP (IP Telephony), ระบบโทรศัพท์ควบคุมขบวนรถไฟ และการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง

ส่วนที่สอง มุ่งเน้นนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาใช้ โดยมีการติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสงประมาณ 3,000 กิโลเมตร ครอบคลุมเส้นทางหลักของ รฟท. รวมถึงอาคารและสำนักงานต่าง ๆ พร้อมด้วยระบบ DWDM เพื่อเพิ่มแบนด์วิธและยกระดับประสิทธิภาพการสื่อสาร ขอบเขตของโครงการยังครอบคลุมการติดตั้งระบบ IP Backbone และระบบ Wi-Fi เพื่อรองรับการสื่อสารโทรศัพท์ควบคุมขบวนรถไฟและกล้องวงจรปิด (CCTV), ระบบโทรศัพท์ผ่าน VoIP และ IP เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร และโครงสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่แข็งแกร่งเพื่อปกป้องข้อมูล

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,300SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles