25.9 C
Bangkok
Sunday, December 15, 2024
รถ​ Mitsubishi
163732
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
previous arrow
next arrow

ซูบารุ จับมือ สถาบันยานยนต์ หนุนการศึกษาและพัฒนายานยนต์ บริจาคเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ให้สถาบันอุดมศึกษา 9 แห่ง

บริษัท ตัน จง ซูบารุ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด (TCSA) ประธาน ดร. ตัน ฮง ไหว่ และบริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด ผู้จัดการทั่วไป คุณสุรีทิพย์ ละอองทอง บริจาคเครื่องยนต์ซูบารุ บ๊อกเซอร์ จำนวน 21 เครื่อง มูลค่ากว่า 7 ล้านบาท โดย ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์เป็นผู้รับมอบ พร้อมสถานการศึกษา 9 แห่ง ณ ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ ATTRIC อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

การสนับสนุนการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกลุ่มบริษัท ตัน จง ซูบารุ ในการเพิ่มศักยภาพให้กับวิศวกรและช่างเทคนิคยานยนต์รุ่นต่อไป โดยบริษัทฯ มอบเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ชั้นนำของอุตสาหกรรมในฐานะเครื่องมือการเรียนรู้แก่นักเรียน นักศึกษาด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาทั่วประเทศ

ดร.เกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ กล่าวว่า สถาบันยานยนต์รู้สึกยินดีแทน 9 สถาบันการศึกษาเป็นอย่างมาก สำหรับการให้โอกาสในการศึกษาเรียนรู้ด้านเทคโนโลยียานยนต์ผ่านเครื่องยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดของซูบารุ ซึ่งสำหรับสถาบันยานยนต์นั้น ก็จะนำเครื่องยนต์ที่ได้รับมาใช้สำหรับการศึกษาวิจัยและพัฒนาเชิงวิศวกรรมต่อไป เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ในอนาคต

ศูนย์ทดสอบยานยนต์และยางล้อแห่งชาติ (ATTRIC) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 1,235 ไร่ บริเวณเขตสวนป่าลาดกระทิง ตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา อยู่ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารและสนามทดสอบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้แก่ สนามทดสอบยางล้อตามมาตรฐาน UN R117 สนามทดสอบระบบเบรก (Brake Performance Track) สนามทดสอบระบบเบรกมือ (Park Brake Track) สนามทดสอบพลวัต (Dynamic Platform Track) สนามทดสอบการยึดเกาะขณะเข้าโค้ง (Skid Pad Track) คาดว่าเสร็จสมบูรณ์ในปี 2569 พร้อมทั้งภายในพื้นที่เดียวกันมีการเปิดให้บริการศูนย์ทดสอบแบตเตอรี่ยานยนต์ไฟฟ้า ที่มีความพร้อมในการให้บริการตรวจสอบและรับรองผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมสำหรับแบตเตอรี่ขับเคลื่อนในยานยนต์ไฟฟ้า ตามมาตรฐาน UNECE R100 สำหรับยานยนต์ และ UNECE R136 สำหรับรถจักรยานยนต์ ทั้งหมดนี้ส่งให้ศูนย์ทดสอบแห่งนี้กลายเป็นฮับการทดสอบมาตรฐานอันดับ 1 ในอาเซียนและอันดับที่ 11 ของโลก

เครื่องยนต์บ๊อกเซอร์

การออกแบบเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ที่อยู่ในรถยนต์ปอร์เช่และซูบารุ มอบประสิทธิภาพในการรักษาสมดุลในการส่งกำลังที่นุ่มนวล โครงสร้างเชิงวิศวกรรมลูกสูบนอนที่เป็นเอกลักษณ์ทำให้มีจุดศูนย์ถ่วงต่ำและการกระจายน้ำหนักที่เหมาะสมซึ่งทำให้เกิดข้อได้เปรียบที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมอบความปลอดภัยเพิ่มขึ้นด้วยโครงสร้างเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ที่มีจุดศูนย์ถ่วงที่ต่ำกว่า ส่งผลให้รถทั้งคันมีเสถียรภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเข้าโค้ง

เพราะความปลอดภัยเป็นหัวใจในการออกแบบ เครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ที่ติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ต่ำจะถูกผลักให้ตกลงไปใต้ห้องโดยสารในกรณีที่เกิดการชนอย่างรุนแรง นอกจากนี้ซูบารุยังได้พัฒนาเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์มาอยู่ในจุดที่ดีที่สุดและส่งผลให้มีอัตราสิ้นเปลืองดีกว่าเครื่องยนต์ทั่วไปบางรุ่น

เครื่องยนต์ที่บริจาคให้แก่สถานศึกษาเหล่านี้จะช่วยให้นักเรียนได้ศึกษาโครงสร้างของเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์และคุณประโยชน์เฉพาะตัวได้โดยตรง ด้วยการศึกษาโครงสร้างลูกสูบนอนจากเครื่องยนต์จริงจะทำให้อนาคตวิศวกรของไทยได้รับข้อมูลเชิงลึกในเชิงปฏิบัติเกี่ยวกับขีดความสามารถและสมรรถนะของเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์

นางสาวสุรีทิพย์ ละอองทอง ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทีซี ซูบารุ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “ซูบารุได้ปรับปรุงเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ของเรามาตั้งแต่ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2509 และด้วยการพัฒนาอย่างต่อเนื่องกว่า 60 ปี ทำให้เครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ในปัจจุบันได้รับการพัฒนาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพสูงสุดในเชิงวิศวกรรม การออกแบบ กลไกการทำงาน และความสามารถที่ส่งผลต่อการขับขี่และการควบคุม”

ซึ่ง ซูบารุ และสถาบันยานยนต์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการศึกษาที่เยาวชนควรจะได้เรียนรู้และสัมผัสการทำงานของเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจากเครื่องยนต์จริง เพื่อต่อยอดเพิ่มทักษะให้เยาวชนเหล่านั้นสามารถนำความรู้ความสามารถที่ได้ไปปรับใช้กับการทำงานและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยต่อไป” นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและเป็นประโยนช์สูงสุดต่อหลักสูตรการสอน ซูบารุได้จัดอบรมเครื่องยนต์บ๊อกเซอร์ แก่ตัวแทนจากสถานศึกษาที่มาร่วมกิจกรรมจำนวนกว่า 20 ท่าน

ตามข้อตกลงความร่วมมือระหว่างบริษัท Tan Chong International Limited ประเทศสิงคโปร์ และ Subaru Corporation ประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่ปี 2019 Tan Chong Subaru Automotive Thailand (TCSAT) ได้สร้างการจ้างงานและการถ่ายทอดทักษะด้านเทคนิคและทักษะด้านเทคโนโลยีขั้นสูงให้กับพนักงานและนักศึกษาฝึกงาน

TCSAT ครอบคลุมพื้นที่กว่า 100,000 ตารางเมตรที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง กรุงเทพฯ ได้รับการออกแบบมาเพื่อผลิตรถยนต์ซูบาสำหรับประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม และกัมพูชา สามารถประกอบรถยนต์ได้ 4 รุ่นและสูงสุดถึง 100,000 คันต่อปี เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพที่เป็นไปตามมาตรฐานการผลิตที่เข้มงวดเช่นเดียวกับในประเทศญี่ปุ่น TCSAT ได้รับการตรวจสอบโดย Subaru Corporation ด้วยขั้นตอนการควบคุมคุณภาพที่เข้มงวดทำให้มั่นใจได้ว่ารถยนต์ทุกคันที่ผลิตใน TCSAT มีความปลอดภัย สะดวกสบาย และเชื่อถือได้

ดร. ตัน ฮง ไหว่ ประธาน บริษัท ตัน จง ซูบารุ ออโตโมทีฟ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “นอกจากการสร้างรถยนต์ซูบารุที่มาพร้อมเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยที่ดีที่เยี่ยมแล้ว เรายังมุ่งมั่นที่จะสร้างความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในการฝึกอบรมผู้ฝึกงานจากสาขาวิชาวิศวกรรมต่างๆ เช่น เครื่องกล ยานยนต์ ไฟฟ้า และอื่นๆ และจากนักศึกษาฝึกงานเหล่านี้ ในอนาคตเราหวังว่าจะได้ร่วมงานกับผู้สำเร็จการศึกษา จากสถานบันอันทรงเกียรตินี้ เพื่อร่วมสร้างรถยนต์ซูบารุที่ล้ำสมัยมากยิ่งขึ้น ทั้งหมดนี้สะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของเราในการพัฒนาอุตสาหกรรม และทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ ของไทย ผ่านการถ่ายทอดวิชาความรู้และการฝึกอบรมทางเทคโนโลยี ขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในก้าวแรกสู่อนาคตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่รุ่งเรือง”

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles