ตลาดรถยนต์เมืองไทยเดือนสิงหาคม 2566 ติดลบต่อเนื่อง 11.7% ทำปริมาณยอดขาย 60,234 คัน โดยรถยนต์นั่งยังโดนใจลูกค้า ด้วยอัตราการเติบโตต่อเนื่อง 4.9% ทำยอดขายได้ถึง 23,645 คัน คาดการณ์แนวโน้มตลาดเดือนกันยายน 2566 มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยเชื่อว่ากลไกทางเศรษฐกิจจะขับเคลื่อนได้คล่องตัวขึ้น
นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนสิงหาคม 2566 ด้วยยอดขาย 60,234 คัน ลดลง 11.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ในขณะที่รถยนต์นั่งยังอยู่ในความต้องการของลูกค้า เติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 23,645 คัน เติบโต 4.9% ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องด้วยยอดขาย 36,589 คัน ลดลง 19.9% โดยเฉพาะอย่างยิ่งรถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ ชะลอตัวเช่นกันด้วยยอดขาย 24,622 คัน ลดลงอย่างมากถึง 32.6%
ตลาดรถยนต์สิงหาคมชะลอตัว 11.7% ด้วยยอดขาย 60,234 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งยังเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 4.9% ด้วยยอดขาย 23,645 คัน ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวที่ 19.9% ด้วยยอดขาย 36,589 คัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ชะลอตัวถึง 32.6% ด้วยยอดขาย 24,622 คัน จากปัจจัยลบทางด้านเศรษฐกิจที่ยังไม่ลื่นไหล ส่งผลให้มีการชะลอการสินใจซื้ออย่างต่อเนื่องของภาคธุรกิจ และภาคประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของธุรกิจขนส่ง โดยมีประเด็นสำคัญคือความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ที่มีความกังวลต่อหนี้เสียอันเป็นผลต่อเนื่องที่เกิดจากสภาวะเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมา
ตลาดรถยนต์กันยายนมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยเชื่อว่ากลไกทางเศรษฐกิจจะขับเคลื่อนได้คล่องตัวขึ้น และหากสถาบันการเงินพิจารณาผ่อนปรนความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ จะช่วยขับเคลื่อนตลาดรถยนต์ให้กลับมาคึกคักอีกครั้ง ก่อให้เกิดความหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ และช่วยให้ภาครัฐสามารถจัดเก็บภาษีเพื่อสนับสนุนโครงการต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนสิงหาคม 2566
1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 60,234 คัน ลดลง 11.7 %
อันดับที่ 1 โตโยต้า 20,871 คัน ลดลง 10.6 % ส่วนแบ่งตลาด 34.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,380 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่งตลาด 18.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,084 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% ส่วนแบ่งตลาด 11.8%
2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,645 คัน เพิ่มขึ้น 4.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,346 คัน เพิ่มขึ้น 12.7%ส่วนแบ่งตลาด 35.3%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,348 คัน ลดลง 25.3% ส่วนแบ่งตลาด 18.4%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 929 คัน ลดลง 41.6% ส่วนแบ่งตลาด 3.9%
3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 36,589 คัน ลดลง 19.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,525 คัน ลดลง 21.5% ส่วนแบ่งตลาด 34.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 11,380 คัน ลดลง 28.2% ส่วนแบ่งตลาด 31.1%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,956 คัน ลดลง 36.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 24,622 คัน ลดลง 32.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,014 คัน ลดลง 28.1% ส่วนแบ่งตลาด 40.7%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 9,999 คัน ลดลง 31.7% ส่วนแบ่งตลาด 40.6%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,956 คัน ลดลง 36.8% ส่วนแบ่งตลาด 12.0%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 5,061 คัน
โตโยต้า 2,047 คัน – อีซูซุ 1,576 คัน – ฟอร์ด 1,130 คัน – มิตซูบิชิ 232 คัน – นิสสัน 76 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 19,561 คัน ลดลง 36.3%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 8,423 คัน ลดลง 35.0% ส่วนแบ่งตลาด 43.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,967 คัน ลดลง 31.0% ส่วนแบ่งตลาด 40.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,826 คัน ลดลง 48.2% ส่วนแบ่งตลาด 9.3%