25.1 C
Bangkok
Friday, December 27, 2024
musubishi900x192px_2024
Honda_900x192px 2024
163732
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Mitsubishi_900x192px_2
previous arrow
next arrow

ตลาดรถยนต์มกราคม 2567 ยอดขายรวม 54,814 คัน ลดลง 16.4%

ตลาดรถยนต์เมืองไทย เปิดศักราชใหม่เดือนมกราคม 2567 ทำยอดขายทั้งสิ้น 54,814 คัน ลดลง ลดลง 16.4% โดยมีสาเหตุจากผู้บริโภคกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังฟื้นตัวช้า ประกอบกับความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ที่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ คาดภาพรวมตลาดในเดือนกุมภาพันธ์ นี้ มีแนวโน้มขยับตัวดีขึ้นเล็กน้อย

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนมกราคม เปิดฤดูกาลขายประจำปี 2567 ด้วยยอดขาย 54,814 คัน ลดลง 16.4% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 23,412 คัน เพิ่มขึ้น 2.4% รถยนต์เพื่อการพาณิชย์ 31,402 คัน ลดลง 26.5% และรถกระบะขนาด 1 ตัน มียอดขายที่ 17,938 คัน ลดลง 43.5%

ตลาดรถยนต์เดือนมกราคม 2567 มีปริมาณการขาย 54,814 คัน ลดลง 16.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เปิดฤดูกาลขายตามดัชนีการขายประจำไตรมาสแรกของปีที่มักชะลอตัว โดยตลาดรถยนต์นั่ง มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นที่ 2.4% และตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ มีอัตราการเติบโตลดลงที่ 26.5% เนื่องจากผู้บริโภคกังวลต่อสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศยังฟื้นตัวช้า ประกอบกับความเข้มงวดของสถาบันการเงิน ที่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์

ตลาดรถยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2567 มีแนวโน้มที่จะขยับตัวดีขึ้น เนื่องจากภาครัฐได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและเยียวยาประชาชนปี 2567 อาทิ มาตรการลดหย่อนภาษี “Easy E-Receipt” การปรับลดค่าไฟฟ้า และการยกเว้นวีซ่านักท่องเที่ยว ส่งผลให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนในประเทศมากขึ้น และส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้น พร้อมกับการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่จากหลายค่ายในช่วงต้นปี ซึ่งส่งผลบวกต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในเดือนกุมภาพันธ์เช่นกัน

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนมกราคม 2567

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 54,814 คัน ลดลง 16.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 17,526 คัน ลดลง 26.3% ส่วนแบ่งตลาด 32%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า 8,298 คัน เพิ่มขึ้น 17.4% ส่วนแบ่งตลาด 15.1%

อันดับที่ 3 อีซูซุ 7,930 คัน ลดลง 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 14.5%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 23,412 คัน เพิ่มขึ้น 2.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,145 คัน ลดลง 40.6% ส่วนแบ่งตลาด 22%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า 4,608 คัน ลดลง 9.2% ส่วนแบ่งตลาด 19.7%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,210 คัน ลดลง 22.2% ส่วนแบ่งตลาด 5.2%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 31,402 คัน ลดลง 26.5%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 12,381 คัน ลดลง 18.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,930 คัน ลดลง 45.9% ส่วนแบ่งตลาด 25.3%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า 3,690 คัน เพิ่มขึ้น 84.7% ส่วนแบ่งตลาด 11.8%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย17,938 คัน ลดลง 43.5%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,958 คัน ลดลง 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 44.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,926 คัน ลดลง 48.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,982 คัน ลดลง 41.3% ส่วนแบ่งตลาด 11%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 3,074 คัน

โตโยต้า 1,111 คัน – อีซูซุ 1,023 คัน –ฟอร์ด 705 คัน –มิตซูบิชิ 186 คัน – นิสสัน 49 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 14,864 คัน ลดลง 43.5%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,847 คัน ลดลง 33.8% ส่วนแบ่งตลาด 46.1%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,903 คัน ลดลง 50.1% ส่วนแบ่งตลาด 39.7%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,277 คัน ลดลง 47.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.6%

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles