ภาพรวมตลาดรถยนต์เมืองไทยเดือนพฤศจิกายน 2566 ยังชะลอตัวต่อเนื่อง 9.8% มีปริมาณยอดขาย 61,621 คัน รถเก๋งโต 21.2% สวนทางปิกอัพที่หดตัวลงถึง 38.8% โดยมีปัจจัยลยจากความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ เพราะกังวลความสามารถในการผ่อนชำระของผู้รับสินเชื่อ คาดยอดขายเดือนธันวาคม 25666 สดใสส่งท้ายปี จากความสำเร็จในการจัดงาน Motor Expo 2023
นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 ด้วยยอดขาย 61,621 คัน ลดลง 9.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ยอดขายรถยนต์นั่งเติบโตต่อเนื่องด้วยยอดขาย 24,567 คัน เติบโต 21.2% ส่วนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์สวนทางด้วยยอดขาย 37,054 คัน ลดลง 22.8% ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ยังไม่ฟื้นตัวด้วยยอดขาย 22,104 คัน ลดลง 39.1%
ภาพรวมของตลาดรถยนต์พฤศจิกายนยังชะลอตัวต่อเนื่องที่ 9.8% ด้วยยอดขาย 61,621 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งเติบโตอย่างต่อเนื่องที่ 21.2% ด้วยยอดขาย 24,567 คัน โดยอีโคคาร์เป็นเพียงเซกเมนท์เดียวที่มีการเจริญเติบโตที่ 32.2% ด้วยยอดขาย 18,783 คัน ในขณะที่ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ชะลอตัวต่อเนื่องที่ 22.8% ด้วยยอดขาย 37,054 คัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน หดตัวถึง 39.1% ด้วยยอดขาย 22,104 คัน ปัจจัยหลักเป็นผลมาจากสภาพเศรษฐกิจที่ยังไม่เติบโตได้ตามที่คาดการ ความมั่นใจผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว โดยมีอุปสรรคสำคัญคือความเข้มงวดของสถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อ อันเป็นผลมาจากความกังวลต่อความสามารถในการผ่อนชำระของผู้รับสินเชื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน
ตลาดรถยนต์ธันวาคมมีความหวังฟื้นตัวขึ้นตามฤดูกาลขาย “High season” โดยมีความหวังสำคัญคือแคมเปญกระตุ้นตลาดช่วงสุดท้ายของปีในงาน มอเตอร์เอ็กซ์โป 2023 ซึ่งสามารถกวาดยอดจองรถทุกยี่ห้อในงานตลอด 14 วัน ได้ถึง 53,248 คัน เติบโตขึ้นถึง 45.17% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งต้องติดตามต่อไปว่ายอดจองเหล่านี้จะมาผลักดันตลาดรถยนต์เดือนธันวาคมให้เติบโตขึ้นได้มากน้อยเพียงใด
ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนพฤศจิกายน 2566
1. ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 61,621 คัน ลดลง 9.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 21,700 คัน ลดลง 11.6 % ส่วนแบ่งตลาด 35.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,415 คัน ลดลง 37.1% ส่วนแบ่งตลาด 16.9%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,328 คัน เพิ่มขึ้น 0.0% ส่วนแบ่งตลาด 11.9%
2. ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 24,567 คัน เพิ่มขึ้น 21.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,512 คัน ลดลง 10.6% ส่วนแบ่งตลาด 30.6%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,928 คัน ลดลง 11.5% ส่วนแบ่งตลาด 16.0%
อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 872 คัน ลดลง 41.4% ส่วนแบ่งตลาด 3.5%
3. ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 37,054 คัน ลดลง 22.8%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 14,188 คัน ลดลง 12.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 10,415 คัน ลดลง 37.1% ส่วนแบ่งตลาด 28.1%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 3,400 คัน เพิ่มขึ้น 17.6% ส่วนแบ่งตลาด 9.2%
4. ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และรถกระบะดัดแปลง PPV*) ปริมาณการขาย 22,104 คัน ลดลง 39.1%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 9,377 คัน ลดลง 39.0% ส่วนแบ่งตลาด 42.4%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 8,544 คัน ลดลง 37.3% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 2,324 คัน ลดลง 51.6% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 4,251 คัน
อีซูซุ 1,500 คัน – โตโยต้า 1,422 คัน – ฟอร์ด 845 คัน – มิตซูบิชิ 406 คัน – นิสสัน 78 คัน
5. ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 17,853 คัน ลดลง 38.8%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 7,877 คัน ลดลง 38.3% ส่วนแบ่งตลาด 44.1%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 7,122 คัน ลดลง 36.2% ส่วนแบ่งตลาด 39.9%
อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,479 คัน ลดลง 56.8% ส่วนแบ่งตลาด 8.3%