28.5 C
Bangkok
Sunday, November 24, 2024
รถ​ Mitsubishi
163732
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
previous arrow
next arrow

ตลาดรถยนต์เมืองไทยเดือนกันยายน เติบโตลดลง ลดลง 37.1% ยอดขาย 39,048 คัน

ภาพรวมตลาดรถยนต์เมืองไทยประจำเดือนกันยายน 2567 เติบโตลดลง 37.1% ด้วยปริมาณยอดการจดทะเบียนทั้งสิ้น 39,048 คัน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากภาวเศรษฐกิจตกต่ำ และเผชิญภาวะน้ำท่วมในหลายพื้นที่ของประเทศ ขณะที่เดือนตุลาคม 2567 คาดการณ์มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการปรับลดดอกเบี้ย และตลาดเข้าสู่ช่วงไฮซีซั่น

นายศุภกร รัตนวราหะ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกันยายน 2567 ยอดขายตลาดรวม 39,048 คัน ลดลง 37.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ตลาดรถยนต์นั่งมีปริมาณการขาย 15,668 คัน ลดลง 38.4% ในขณะที่รถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีปริมาณการขาย 23,380 คัน ลดลง 36.2% และรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขายทั้งหมด 13,972 คัน ลดลง 40.1%

ตลาดรถยนต์เดือนกันยายน 2567 มียอดขาย 39,048 คัน ลดลง 37.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา กลุ่มตลาดรถยนต์นั่งเติบโตลดลงที่ 38.4% ด้วยยอดขาย 15,668 คัน ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ลดลงเช่นกันที่ 36.2% ด้วยยอดขาย 23,380 คัน และตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน ยอดขาย 13,972 คัน ลดลง 40.1% ในส่วนของตลาด xEV มียอดขายทั้งหมด 13,102 คัน คิดเป็นสัดส่วน 34% ของตลาดรถยนต์ทั้งหมด ลดลง 21% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ยอดขายรถยนต์ HEV มีอัตราการเติบโตลดลงเช่นกันที่ 11% แต่ยังคงสัดส่วนการขายสูงที่สุดในตลาดรถ xEV ด้วยยอดขาย 7,355 คัน คิดเป็น 56% ของตลาด xEV ทั้งหมด ในส่วนของรถยนต์ BEV ทำยอดขายได้ 4,982 คัน ลดลง 32% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีที่ผ่านมา

ตลาดรถยนต์เดือนตุลาคม มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นจากเดือนกันยายน แต่ยังคงเติบโตลดลง เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว ซึ่งเป็นผลมาจากสภาวะเศรษฐกิจโดยรวมและผลกระทบจากภาวะอุทกภัย อย่างไรก็ตาม การประกาศลดอัตราดอกเบี้ยจากธนาคารกลาง รวมถึงการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่และโปรโมชันการขายที่น่าสนใจจากหลากหลายค่ายรถยนต์ อาจมีส่วนช่วยกระตุ้นการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์ เดือนกันยายน 2567

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 39,048 คัน ลดลง 37.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 15,311 คัน ลดลง 27.6% ส่วนแบ่งตลาด 39.2%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,080 คัน ลดลง 44.2% ส่วนแบ่งตลาด 15.6%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า 4,365 คัน ลดลง 52.1% ส่วนแบ่งตลาด 11.2%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 15,668 คัน ลดลง 38.4%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 4,692 คัน ลดลง 52.7% ส่วนแบ่งตลาด 29.9%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า 3,426 คัน ลดลง 18.7% ส่วนแบ่งตลาด 21.9%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 1,395 คัน เพิ่มขึ้น 28.8% ส่วนแบ่งตลาด              8.9%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 23,380 คัน ลดลง 36.2%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,619 คัน ลดลง 5.3% ส่วนแบ่งตลาด 45.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 6,080 คัน ลดลง 44.2% ส่วนแบ่งตลาด 26%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,374 คัน ลดลง 53.4% ส่วนแบ่งตลาด 5.9%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 13,972 คัน ลดลง 40.1%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 6,488 คัน ลดลง 32% ส่วนแบ่งตลาด 46.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 5,101 คัน ลดลง 45.1% ส่วนแบ่งตลาด 36.5%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 1,374 คัน ลดลง 53.4% ส่วนแบ่งตลาด 9.8%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 2,463 คัน

อีซูซุ 949 คัน – โตโยต้า 798 คัน – ฟอร์ด 574 คัน – มิตซูบิชิ 97 คัน – นิสสัน 45 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 11,509 คัน ลดลง 39.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 5,690 คัน ลดลง 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 49.4%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 4,152 คัน ลดลง 47.8% ส่วนแบ่งตลาด 36.1%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 800 คัน ลดลง 60.2% ส่วนแบ่งตลาด 7%     

สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม –  กันยายน 2567

1.ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 438,659 คัน ลดลง 25.3%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 167,218 คัน ลดลง 16.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.1%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 65,269 คัน ลดลง 45.7% ส่วนแบ่งตลาด 14.9%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า 58,311 คัน ลดลง 16.6% ส่วนแบ่งตลาด 13.3%

2.ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 169,862 คัน ลดลง 22.7% 

อันดับที่ 1 โตโยต้า 48,823 คัน ลดลง 36.9% ส่วนแบ่งตลาด 28.7%

อันดับที่ 2 ฮอนด้า 33,981 คัน ลดลง 22.6% ส่วนแบ่งตลาด 20%

อันดับที่ 3 มิตซูบิชิ 13,740 คัน เพิ่มขึ้น 8.4% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%

3.ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 268,797 คัน ลดลง 26.8%

อันดับที่ 1 โตโยต้า118,395 คัน ลดลง 2.9% ส่วนแบ่งตลาด 44%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 65,269 คัน ลดลง 45.7% ส่วนแบ่งตลาด 24.3%

อันดับที่ 3 ฮอนด้า 24,330 คัน ลดลง 6.3% ส่วนแบ่งตลาด 9.1%

4.ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV*)

ปริมาณการขาย 153,504 คัน ลดลง 40%

อันดับที่ 1 โตโยต้า 70,632 คันลดลง 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 46%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 56,812 คันลดลง47.5% ส่วนแบ่งตลาด 37%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 16,104 คัน ลดลง 44% ส่วนแบ่งตลาด 10.5%

*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง (ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน) 26,944 คัน

โตโยต้า 9,534 คัน – อีซูซุ 9,196 คัน – ฟอร์ด 6,138 คัน – มิตซูบิชิ 1,753 คัน – นิสสัน 323 คัน

5.ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 126,560 คัน ลดลง 39.3 %

อันดับที่ 1 โตโยต้า 61,098 คันลดลง 26.4%ส่วนแบ่งตลาด 48.3%

อันดับที่ 2 อีซูซุ 47,616 คัน ลดลง 48% แบ่งตลาด 37.6%

อันดับที่ 3 ฟอร์ด 9,966 คันลดลง 48.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.9% 

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles