ปตท. เผยผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันประจำสัปดาห์วันที่ 7-11 ส.ค. 66 และแนวโน้มสัปดาห์วันที่ 14-18 ส.ค. 66 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 86.454 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับลดราคาเพิ่มขึ้น +1.47 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 83.054 เหรียญต่อบาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +1.65 เหรียญ สหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 87.94 เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +2.17 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาเพิ่มขึ้น +2.45 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 107.23 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาเพิ่มขึ้น +1.05 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 119.25 เหรียญสหรัฐฯ
ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น จากอุปทานมีแนวโน้มตึงตัว โดยกลุ่ม OPEC และพันธมิตร (OPEC+) รวม 19 ประเทศ ลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบมากกว่าข้อตกลง ล่าสุด S&P Global Platts รายงาน OPEC+ ผลิตน้ำมันดิบในเดือน ก.ค. 66 ลดลง 0.98 ล้านบาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 35.71 ล้านบาร์เรลต่อวัน ต่ำสุดตั้งแต่ ส.ค. 64 และต่ำกว่าข้อตกลงของกลุ่ม OPEC+ ที่ 36.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยซาอุดีอาระเบียผลิตลดลง 0.94 ล้านบาร์เรลต่อวันจากเดือนก่อนหน้า อยู่ที่ 9.05 ล้านบาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ OPEC+ มีมติคงนโยบายลดการผลิตน้ำมันดิบรวม 3.66 ล้านบาร์เรลต่อวัน ไปจนถึงสิ้นปี 2567
ประกอบกับ Energy Information Administration (EIA) คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกในปี 2566 เพิ่มขึ้น 1.76 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปีก่อน อยู่ที่ 101.19 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ปรับเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ครั้งก่อน 0.04 ล้านบาร์เรลต่อวัน) และในปี 2567 เพิ่มขึ้น 1.60 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปีก่อน อยู่ที่ 102.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ลดลงจากครั้งก่อน 0.01 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีแนวโน้มขยายตัว สนับสนุนอุปสงค์น้ำมัน ซึ่ง EIA คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของสหรัฐฯ ในปี 2566 ที่ +1.9% จากปีก่อน (เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อน 0.4%) และคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันดิบ ICE Brent เฉลี่ยช่วงครึ่งหลังของปี 2566 จะอยู่ที่ 86 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (เพิ่มขึ้นจากครั้งก่อน 7 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล)
อย่างไรก็ตาม ผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve: Fed) โดย Michelle Bowman กล่าวว่ายังคงมีความจำเป็นที่สหรัฐฯ จะต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มเติม เพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้อยู่ในระดับเป้าหมายของ Fed ที่ 2% โดยอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 5.25-5.50% ซึ่งการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลให้เศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัว
และจับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของจีนที่อาจจะประกาศเพิ่มเติม หลังสำนักสถิติแห่งชาติจีน (National Bureau of Statistics: NBS) รายงานดัชนีราคาผู้บริโภค (Consumer Price Index: CPI) ในเดือน ก.ค. 66 อยู่ที่ -0.3% จากปีก่อน (ในเดือน มิ.ย. 66 อยู่ที่ +0.0% จากปีก่อน) ติดลบเป็นครั้งแรกตั้งแต่ ก.พ. 64 และดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ในเดือน ก.ค. 66 อยู่ที่ -4.4% จากปีก่อนหน้า หดตัวต่อเนื่อง 10 เดือน