บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด แถลงสถิติการจำหน่ายรถยนต์ปี 2566 พร้อมคาดการณ์ตลาดรถยนต์เมืองไทยในปี 2567 จะมีปริมาณการจำหน่ายรวมที่ 800,000 คัน ทั้งนี้ โตโยต่าคาดการปริมาณขายของตนเองน่าจะทำยอดจำหน่ายรวมที่ 277,000 คัน
สถิติการขายรถยนต์ในปี 2566
ปี 2566 ถือเป็นปีที่ภาพรวมของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยยังคงอยู่ในภาวะทรงตัว โดยตลาดภายในประเทศยังคงมีทิศทางที่ชะลอตัว ในขณะที่ภาคการส่งออกโดยรวมมีการขยายตัวที่ดีขึ้น ทั้งนี้ มีปัจจัยหลากหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางของตลาดในปีที่ผ่านมา ทั้งจากสภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ กำลังซื้อที่ชะลอตัวลงจากหนี้ครัวเรือนสูง ตลอดจนการชะลอซื้อรถยนต์ของภาคธุรกิจเพื่อรอความชัดเจนจากมาตรการรัฐซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ขณะเดียวกันสถาบันการเงินก็เพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถ และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง
อย่างไรก็ตาม ยังพอมีปัจจัยด้านบวกอื่นๆ ที่ส่งผลต่ออุตสาหกรรมยานยนต์โดยรวม อาทิ สัดส่วนการขายของตลาดรถยนต์นั่งในประเทศที่ขยายตัวได้ดี โดยได้กระแสความนิยมในรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ได้อานิสงส์จากมาตรการสนับสนุนด้านราคาของภาครัฐ ตลอดจนตัวเลขการส่งออกรถยนต์ของไทยที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสัดส่วนการผลิตเพื่อส่งออกในช่วงที่ผ่านมา เพื่อชดเชยการส่งมอบรถที่ล่าช้าจากปัญหาการขาดแคลนชิ้นส่วนสำคัญจนทำให้การผลิตล่าช้าออกไปในปีก่อนหน้านี้
ทั้งนี้ จากปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ได้สะท้อนมายังตลาดรถยนต์ในประเทศ โดยมีตัวเลขยอดขายรวมในปี 2566 อยู่ที่ 775,780 คัน หรือลดลง 9% เมื่อเทียบกับปี 2565
สถิติการขายรถยนต์ในปี 2566 | ยอดขายปี 2566 | การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2565 |
ปริมาณการขายรวม | 775,780 คัน | -9% |
รถยนต์นั่ง | 292,505 คัน | +10% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 483,275 คัน | -17% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 325,024 คัน | -29% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 264,738 คัน | -32% |
สำหรับยอดขายของโตโยต้าในปี 2566 มียอดขายโดยรวมอยู่ที่ 265,949 คัน หรือลดลง 8% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา หากแต่ยังคงมีส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 หรือเท่ากับ 34.3% ของยอดขายรถยนต์ทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่ส่วนแบ่งทางการตลาดรถยนต์นั่งของโตโยต้ามีการเติบโตสูงขึ้นจากปีที่แล้วอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มรถอีโคคาร์ที่ยังคงสามารถครองส่วนแบ่งทางการตลาดเป็นอันดับ 1 ได้อย่างต่อเนื่อง จากความสำเร็จด้านยอดขายของรถยนต์ Yaris ATIV รวมถึงการมีรถยนต์รุ่นใหม่อย่าง Yaris Cross ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมาและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้า นอกจากนี้ การดำเนินกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ ตลอดจนการมีผลิตภัณฑ์ยานยนต์ที่หลากหลายของโตโยต้า ก็มีส่วนทำให้สามารถเข้าถึงและใกล้ชิดกับลูกค้าในกลุ่มเป้าหมายต่างๆได้ดียิ่งขึ้นอีกด้วย
นอกเหนือจากรถยนต์ภายใต้แบรนด์โตโยต้า ในปี 2566 ที่ผ่านมา แบรนด์เลกซัส ประเทศไทย ประสบความสำเร็จ มียอดขายสูงสุด อยู่ที่ 1,012 คัน นับเป็นครั้งแรกที่ เลกซัส ประเทศไทย สามารถสร้างยอดขายได้สูงสุดถึงระดับกว่า 1,000 คัน แสดงถึงความไว้วางใจ และความมั่นใจของลูกค้าชาวไทยที่มีต่อแบรนด์เลกซัส
สถิติการขายรถยนต์ของโตโยต้าในปี 2566 | ยอดขายปี 2566 | การเปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2565 | ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายโตโยต้า | 265,949 คัน | -8% | 34.3% |
รถยนต์นั่ง | 99,292 คัน | +20% | 33.9% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 166,657 คัน | -19% | 34.5% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 128,689 คัน | -27% | 39.6% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 106,601 คัน | -28% | 40.3% |
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567
แนวโน้มอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในปี 2567 คาดว่าจะยังคงอยู่ในสภาวะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปพร้อมๆ กับการฟื้นตัวของภาคเศรษฐกิจโดยรวมทั้งหมด โดยมีปัจจัยรอบด้านที่จะส่งผลกระทบต่อภาพรวม อาทิ การเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวและการจ้างงานที่เพิ่มขึ้น นโยบายของภาครัฐที่จะสนับสนุนการใช้จ่ายให้เร่งตัวขึ้น การขยายตัวของการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมภายในประเทศและโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการผลักดันมาตรการสนับสนุนการลงทุนผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าดูสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่จะส่งผลในด้านการส่งออก ตลอดจนสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่ยังคงสูง และทิศทางของนโยบายอัตราดอกเบี้ยอีกด้วย ทำให้คาดการณ์ว่ายอดขายรถยนต์ในปี 2567 จะอยู่ที่ 800,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 3% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว
ประมาณการยอดขายรถยนต์ในประเทศปี 2567 | ยอดขายประมาณการปี 2567 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 |
ปริมาณการขายรวม | 800,000 คัน | +3% |
รถยนต์นั่ง | 296,500 คัน | +1% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 503,500 คัน | +4% |
สำหรับโตโยต้า ตั้งเป้ายอดขายอยู่ที่ 277,000 คัน หรือเพิ่มขึ้น 4% โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดอยู่ที่ 34.6%
ประมาณการยอดขายรถยนต์โตโยต้าในปี 2567 | ยอดขายประมาณการปี 2567 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 | ส่วนแบ่งตลาด |
ปริมาณการขายโตโยต้า | 277,000 คัน | +4% | 34.6% |
รถยนต์นั่ง | 81,700 คัน | -18% | 27.6% |
รถเพื่อการพาณิชย์ | 195,300 คัน | +17% | 38.8% |
รถกระบะ 1 ตัน (รวมรถกระบะดัดแปลง) | 133,264 คัน | +4% | 41.2% |
รถกระบะ 1 ตัน (ไม่รวมรถกระบะดัดแปลง) | 114,500 คัน | +7% | 42.1% |
ปริมาณการส่งออกรถยนต์และการผลิตของโตโยต้าในปี 2566
ในปี 2566 โตโยต้าได้ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปไปจำนวน 379,044 คัน เพิ่มขึ้น 0.2% จากปี 2565 โดยยอดรวมการผลิตรถยนต์สำหรับการขายภายในประเทศและการส่งออกในปี 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 621,156 คัน หรือลดลง 5.8% จากปี 2565
ปริมาณการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตโตโยต้าในปี 2566 | ปริมาณในปี 2566 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2565 |
ปริมาณการส่งออก | 379,044 คัน | +0.2% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 621,156 คัน | -5.8% |
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์และการผลิตของโตโยต้าในปี 2567
สำหรับเป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปของโตโยต้าในปี2567 คาดการณ์ว่ายังต้องเผชิญกับผลกระทบจากสถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีแนวโน้มเติบโตต่ำ ตลอดจนภาวะฟื้นตัวทางเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประเทศคู่ค้าที่ยังคงชะลอตัว ส่งผลให้โตโยต้าตั้งเป้าปริมาณการส่งออกรถยนต์อยู่ที่ 358,800 คัน หรือลดลง 5% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และได้ตั้งเป้าการผลิตรถยนต์ทั้งหมดของปี 2567 อยู่ที่ราว 615,700 คัน หรือลดลง 0.9% จากปีที่ผ่านมา
เป้าหมายการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูปและการผลิตของโตโยต้าปี 2567 | ปริมาณในปี 2567 | เปลี่ยนแปลงเทียบกับปี 2566 |
ปริมาณการส่งออก | 358,800 คัน | -5.0% |
ยอดผลิตรวมทั้งส่งออกและการขายในประเทศ | 615,700 คัน | -0.9% |
การดำเนินงานในด้านอื่นๆของโตโยต้าในประเทศไทย
ในปีที่ผ่านมา นอกเหนือจากการดำเนินธุรกิจยานยนต์แล้ว โตโยต้ายังได้มีในการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการสร้าง “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” (Carbon Neutrality) โดยได้มีการเตรียมความพร้อมในหลากหลายแนวทาง หรือ “Multiple Pathway” เพื่อทุกความเป็นไปได้ที่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากการเดินทางของผู้คน โดยมีการร่วมมือกับพันธมิตรในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญ อาทิ
1.การลงนามความร่วมมือระหว่าง บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น / เครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP
บริษัท ทรู ลีสซิ่ง / บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย หรือ SCG, และ Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT เพื่อเร่งความร่วมมือในการมุ่งสู่การบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนในประเทศไทย โดยได้เริ่มต้นดำเนินการทดลองใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านข้อมูล ด้านการเดินทาง และด้านพลังงาน ซึ่งในปีที่ผ่านมา ผลการดำเนินความร่วมมือที่เห็นเด่นชัดคือการเปิดตัวเครื่องผลิตไฮโดรเจนจากก๊าซชีวภาพที่ได้มาจากมูลสัตว์ในฟาร์มสัตว์ปีกและเศษอาหารของซีพี และอาหารเหลือทิ้งจากโรงอาหารของโตโยต้า โดยนำพลังงานนั้นมาใช้กับรถพลังงานไฮโดรเจน ทั้งนี้ ความท้าทายต่อไป คือการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน และการลดต้นทุนในกระบวนการทั้งหมดของขั้นตอน “การผลิต” “การขนส่ง” และ “การใช้” พลังงานโดยการใช้พลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับสภาพ และการใช้งานในประเทศไทย นอกจากนี้ เพื่อปรับปรุงให้การขนส่งมีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยการใช้ข้อมูล จะมีการนำข้อมูลด้านค้าปลีก และขนส่งจาก ซีพีและเอสซีจี รวมถึงการนำเทคโนโลยี “Digital Twin” (การสร้างโมเดลเสมือนจริงจากพื้นที่จริง) ของโตโยต้า มาเพิ่มประสิทธิภาพของ “การเดินทาง การขนส่ง และพลังงาน” โดยร่วมมือกับระบบทางสังคม เช่น การจัดการพลังงานและการควบคุมการจราจร เป็นต้น
2.การต่อยอดโครงการพัฒนาเมืองต้นแบบที่ยั่งยืนปราศจากมลภาวะ ที่โตโยต้าร่วมมือกับเมืองพัทยาในการจัดสร้างระบบนิเวศเพื่อรองรับการใช้งานยานยนต์พลังงานทางเลือกที่จัดเตรียมไว้ให้ผู้คนในเมืองพัทยาได้ทดลองใช้งานในการเดินทางรูปแบบต่าง ๆ ได้มีการต่อยอดไปสู่การเตรียมความพร้อมในการนำรถกระบะต้นแบบพลังงานไฟฟ้า 100% อย่าง Hilux REVO BEV มาให้บริการในรูปแบบรถโดยสารประจำทางสาธารณะแก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวในเมืองพัทยา โดยพร้อมที่จะเริ่มทดลองให้บริการได้ภายในช่วงครึ่งแรกของปีนี้เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ภาพรวมของรถในโครงการทั้งหมดมีส่วนช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ประมาณ 4,000 ตัน ต่อปี
นอกจากนี้ ในด้านกิจกรรมสังคมอื่น ๆ โตโยต้าก็ยังมุ่งเน้นการขับเคลื่อนสังคมไทย สู่ “ยุคแห่งการพัฒนาอย่างยั่งยืน” เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่และยกระดับคุณภาพชีวิตของคนไทย พร้อมทั้งเสริมสร้างสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมที่ดี ผ่านการดำเนินกิจกรรมและขยายผลการดำเนินงานในโครงการต่างๆอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนแสวงหาแนวทางการประสานความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรในอุตสาหกรรมต่างๆที่มีเป้าหมายเดียวกัน เพื่อมีส่วนช่วยผลักดันในการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจและสังคมไทยต่อไป
Toyota Motor Thailand Co., Ltd. announced their 2023 car sales performance along with the Thai automotive market projection in 2024
Automotive Market Performance in 2023
In 2023, the Thai automotive industry maintained stability, despite the deceleration in the domestic market, which was offset by a notable enhancement in the overall export sector. Influencing factors included the steady and ongoing recovery of the domestic economy, although it has not yet fully rebounded to past levels. Additionally, diminished purchasing power, attributed to high household debt, has played a role in the deceleration of the local market. Moreover, the business sector exhibited a cautious approach, delaying car purchases while awaiting clarity on government measures, which directly affect the commercial vehicle market. Concurrently, financial institutions have heightened scrutiny in granting car hire purchase loans, and maintained elevated interest rates.
Nevertheless, several positive factors continue to influence the overall automobile industry. To illustrate, the sales proportion of the domestic passenger car market is experiencing significant expansion. The popularity of electric vehicles (EVs) has been bolstered by government incentives. Additionally, the surge in Thai automobile exports is attributed to the increased proportion of production capacity designated for export in the preceding period. In fact, this strategic adjustment has been able to offset delays in vehicle delivery resulting from shortages of key parts, causing production setbacks in previous years.
As a result of some of the aforementioned factors, the overall domestic market volume in 2023 stood at 775,780 units, representing a 9% decrease compared to 2022.
2023 Market Performance | 2023 Sales | Difference compared to 2022 |
Total Sales | 775,780 units | -9% |
Passenger Cars | 292,505 units | +10% |
Commercial Vehicles | 483,275 units | -17% |
1-ton Pickups (Including PPV) | 325,024 units | -29% |
Pure Pickups | 264,738 units | -32% |
In 2023, Toyota’s total sales amounted to approximately 265,949 units, reflecting an 8% decrease compared to the previous year. However, Toyota maintains the leading position in the automotive market with a market share of 34.3% in total car sales. This can be partly attributed to the remarkable growth in Toyota’s passenger car market share, particularly in the eco car segment, which Toyota has enjoyed sustained dominance with the number one market share resulting from the continued success of the Yaris ATIV. Moreover, the positive reception of the newly introduced Yaris Cross model, launched at the end of the previous year with highly favorable responses from valued customers, contributing to Toyota’s overall strong market standing. Furthermore, Toyota’s comprehensive marketing initiatives, coupled with the company’s extensive range of automotive product and value chain offerings, facilitate greater outreach and engagement with diverse customer groups.
Apart from notable achievements of vehicles under Toyota brand, Lexus Thailand has also experienced remarkable success in 2023, reaching its highest sales ever with 1,012 units. This marks the first instance where Lexus Thailand proudly surpasses the 1,000 vehicle milestone, reflecting the strong trust and confidence of Thai customers in the Lexus brand.
2023 Toyota Sales Performance | 2023 Sales | Difference compared to 2022 | Market Share |
Total Sales | 265,949 units | -8% | 34.3% |
Passenger Cars | 99,292 units | +20% | 33.9% |
Commercial Vehicles | 166,657 units | -19% | 34.5% |
1-ton Pickups (Including PPV) | 128,689 units | -27% | 39.6% |
Pure Pickups | 106,601 units | -28% | 40.3% |
Automotive Market Outlook for 2024
Regarding the outlook of the Thai automotive industry in 2024, it is anticipated to continue its gradual recovery, aligning with the broader economic revival. Various factors will influence the overall landscape, including heightened private consumption caused by the tourism sector’s recovery and increased employment contribution. Government policies geared towards stimulating expenditure, the expansion of investments in domestic activities and infrastructure, and initiatives supporting the production of electrified vehicles domestically, will also play pivotal roles. Nevertheless, vigilance is warranted as the global economic and geo-political situation could impact exports, and persistently high household debt remains a notable care point. Meanwhile, it is also important to closely monitor the trajectory of the interest rate policy. Consequently, the projection for car sales in 2024 stands at 800,000 units, reflecting a 3% increase compared to the previous year.
2024 Domestic Sales Forecast | 2024 Sales Projection | Difference compared to 2023 |
Total Sales | 800,000 units | +3% |
Passenger Cars | 296,500 units | +1% |
Commercial Vehicles | 503,500 units | +4% |
As for Toyota, we have set ourselves a sales target of 277,000 units, or a 4% increase, with 34.6% market share.
2024 Toyota Car Sales Forecast | 2024 Sales Forecast | Difference compared to 2023 | Market Share |
Total Sales | 277,000 units | +4% | 34.6% |
Passenger Cars | 81,700 units | -18% | 27.6% |
Commercial Vehicles | 195,300 units | +17% | 38.8% |
1-ton Pickups (Including PPV) | 133,264 units | +4% | 41.2% |
Pure Pickups | 114,500 units | +7% | 42.1% |
Toyota Export and Production Result in 2023
In terms of export, Toyota experienced a slight increase in CBU export volume in 2023, reaching 379,044 units, which accounts for a 0.2% improvement compared to 2022. Besides, the total production volume for both domestic sales and exports in 2023 reached 621,156 units, reflecting a 5.8% decrease compared to 2022.
Toyota CBU Export and Production Volume in 2023 | 2023 Performance | Difference compared to 2022 |
Export Volume | 379,044 units | +0.2% |
Total Production Volume for Domestic Sales and Export | 621,156 units | -5.8% |
Toyota Export and Production Outlook for 2024
Regarding the forecast of Toyota’s CBU exports for 2024, it is anticipated that the company will continue to contend with the repercussions of a persistently sluggish global economic environment. Moreover, the economic recovery and purchasing power of trading partners are expected to continue at a decelerated pace. Therefore, Toyota’s export target is set at 358,800 units, representing a 5% drop over the last year. In addition, the total production target in 2024 will be around 615,700 units, or a 0.9% decrease compared to the previous year.
Target of Toyota CBU Export and Production Volume in 2024 | 2024 Target | Difference compared to 2023 |
Export Volume | 358,800 units | -5.0% |
Total Production Volume for Domestic Sales and Export | 615,700 units | -0.9% |
Other Key Operations of Toyota in Thailand
Over the past year, Toyota has not only managed automotive business but also extended its operations across various fields with an aim to ultimately achieve “Carbon Neutrality” by taking the “Multi-Pathway” approach to pursue every possibility to help reduce greenhouse gas emissions resulting from passenger and goods mobility. This involves strong collaborative efforts with key partners in different industries, for instance:
Toyota Motor Corporation, Charoen Pokphand Group (CP), True Leasing, Siam Cement Group (SCG), and Commercial Japan Partnership Technologies Corporation (CJPT) have signed a Memorandum of Understanding to further accelerate collaboration towards achieving carbon neutrality in Thailand. There are three areas of focus: Data Solutions, Mobility Solutions, and Energy Solutions. Last year, a remarkable outcome of this collaboration is for the first time in Thailand, the introduction of biogas-derived hydrogen production equipment using poultry farm manure and food waste produced at CP’s poultry farm, as well as food leftovers from Toyota’s cafeteria to make biogas to be utilized to power hydrogen-fueled cars. As the next step, we are also taking on the challenge of energy efficiency improvement and cost reduction throughout the entire process of producing, transporting and using energy by using renewable energy suited to resource conditions and usage in Thailand. To improve logistics efficiency through data, we will utilize CP and SCG’s data in retail and logistics as well as Toyota’s Digital Twin Technology to optimize the flow of personnel, logistics and energy by collaborating with a social system such as energy management and traffic control, etc.
Toyota has joined force with Pattaya Municipality to build on the achievement of the Decarbonized Sustainable City. The effort is aimed at establishing a comprehensive ecosystem to encourage the adoption of alternative energy vehicles, providing residents in Pattaya with the opportunity to explore diverse mobility options. Additional efforts have been made to introduce the electric prototype pickup truck, Hilux REVO BEV, as a public transportation solution, catering to both residents and tourists in the Pattaya Municipality. The trial service is set to start within the first half of this year onwards. This will allow all project vehicles to contribute to a significant reduction in greenhouse gas emissions, estimated at approximately 4,000 tons per year.
As for other social benevolent endeavors, Toyota is committed to driving the Thai society into the “Era of Sustainable Development” in a bid to enhance the living conditions and quality of life for the Thai people, as well as fostering a positive impact on the environment, economy, and society. This is achieved through ongoing activities and the continuous expansion of operational outcomes across various projects and initiatives. Toyota actively seeks collaborations with like-minded partners in different industries, aiming to collectively advance the achievement of sustainable development goals for the Thai economy and society in the future.