ความต้องการพลังงานมีสูงส่งสัญญาณแนวโน้มราคาน้ำมันโลกปรับขึ้น

0
186
The Amount of Energy Required is High Trend of Rising Oil Prices
The Amount of Energy Required is High Trend of Rising Oil Prices

ปตท. เผลผลการวิเคราะห์สถานการณ์ตลาดน้ำมันสัปดาห์ที่ 6-10 ก.พ. 66 และแนวโน้ม 13-17 ก.พ. 66 โดยตลาดน้ำมันสำเร็จรูปเบรนท์ (ICE Brent) ราคา 84.13เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +1.07 ตลาดน้ำมันสำเร็จรูป เวสท์เท็กซัสฯ (NYMEX WTI) ราคา 77.50 เหรียญต่อบาร์เรล ปรับราคาเพิ่มขึ้น +1.01 เหรียญ สหรัฐฯ ตลาดน้ำมันสำเร็จรูปดูไบ (Dubai) ราคา 81.47เหรียญสหรัฐฯ ต่อ บาร์เรล ปรับราคาลดลง +4.54 เหรียญ สหรัฐฯ ขณะที่ราคาน้ำมันสำเร็จรูปซื้อซื้อขายล่วงหน้าประเทศสิงคโปร์ ราคาเบนซินออกเทน 95 ปรับราคาลดลง –0.85 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 99.81 เหรียญ สหรัฐฯ ราคาน้ำมันดีเซลราคาปรับราคาลดลง –7.05 เหรียญ สหรัฐฯ มาเป็นราคา 107.52 เหรียญสหรัฐฯ

ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent และ NYMEX WTI เฉลี่ยสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับตัวเพิ่มขึ้น จากความกังวลว่าอุปทานน้ำมันดิบมีแนวโน้มตึงตัว หลังจาก Alexander Novak รองนายกรัฐมนตรีรัสเซีย เผยแผนลดการผลิตน้ำมันดิบในเดือน มี.ค. 66 ลง 0.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือประมาณ 5% ของปริมาณการผลิตของรัสเซีย เพื่อตอบโต้ชาติตะวันตกที่ออกมาตรการตั้งเพดานราคาน้ำมัน (Price Cap) จากรัสเซียซึ่งขนส่งทางทะเล ตั้งแต่ 5 ธ.ค. 65 พร้อมทั้งกล่าวย้ำว่าจะไม่จำหน่ายน้ำมันให้แก่ชาติที่เข้าร่วมมาตรการ Price Cap น้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปจากรัสเซียทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ รัสเซียผลิตน้ำมันดิบและคอนเดนเสทในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ก.พ. 66 อยู่ที่ 10.93 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ผลิตคอนเดนเสทประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน)

ขณะเดียวกัน ราคาน้ำมันปรับเพิ่มขึ้นจากคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว โดยธนาคาร Australia and New Zealand Banking Group Ltd. (ANZ) ของออสเตรเลียชี้ว่า อุปสงค์น้ำมันของจีนที่ฟื้นตัว หลังยกเลิกมาตรการ Zero-COVID ที่ดำเนินการอย่างเข้มงวดมานานกว่า 3 ปี จะเป็นปัจจัยสนับสนุนราคาน้ำมันโลกในปีนี้

ทั้งนี้ ANZ คาดการณ์อุปสงค์น้ำมันของจีนในปี 66 จะเพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า หรือประมาณ 50% ของอุปสงค์โลก ซึ่งจะเพิ่มขึ้น 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า ขณะที่ Haitham al-Ghais เลขาธิการ OPEC คาดว่า อุปสงค์น้ำมันโลกปี 66 จะอยู่ที่ 102 ล้านบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าระดับก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 และจะเติบโตสู่ 110 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 68

                สัปดาห์นี้คาดว่าราคา ICE Brent จะเคลื่อนไหวอยู่ระหว่าง 83-88 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล โดย Haitham al-Ghais คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent จะแตะอยู่ในระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในปี 66 ขณะที่ Afshin Javan ผู้แทนอิหร่านประจำ OPEC คาดว่า ราคาน้ำมันดิบจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ช่วงครึ่งหลังของปี66

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงบวก

* รายงานฉบับเดือน ก.พ. 66 ของ EIA รายงานอุปสงค์น้ำมันโลกปี 65 เพิ่มขึ้น 2.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 99.36 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ปรับลดจากคาดการณ์ครั้งก่อน 7 หมื่นบาร์เรลต่อวัน) และคาดการณ์ปี 66 เพิ่มขึ้น 1.11 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 100.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน (ปรับลดจากคาดการณ์ครั้งก่อน 1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน)

* 7 ก.พ. 66 ทางการตุรกีประกาศเหตุสุดวิสัย (Force Majeure) ท่าส่งมอบน้ำมัน Ceyhan (1 ล้านบาร์เรลลต่อวัน) บริเวณชายฝั่งทะเล Mediterranean เพื่อตรวจสอบด้านความปลอดภัย หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวบริเวณตอนใต้ของตุรกีเมื่อ 6 ก.พ. 66 อย่างไรก็ดี 8 ก.พ. 66 การขนส่งน้ำมันดิบ Azeri ผ่านท่อ Baku-Tblisi-Ceyhan (BTC: 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน) จากอาเซอร์ไบจานสู่ท่า Ceyhan กลับมาดำเนินการตามปกติ

ปัจจัยที่กระทบต่อราคาน้ำมันดิบในเชิงลบ

* รายงานฉบับเดือน ก.พ. 66 ของ EIA คาดการณ์ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ในปี 66 เพิ่มขึ้น 0.59 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า มาอยู่ที่ 12.49 ล้านบาร์เรลต่อวัน และปี 67 เพิ่มขึ้น 0.16 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปีก่อนหน้า อยู่ที่ 12.65 ล้านบาร์เรลต่อวัน

* วาณิชธนกิจ Goldman Sachs คาดการณ์ราคาน้ำมันดิบ ICE Brent ในปี 66 อยู่ที่ 92 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ปรับลดจากคาดการณ์เดิม 6 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) และปี 67 อยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล (ปรับลดจากคาดการณ์เดิม 5 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) โดยชี้ว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางทั่วโลกทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมันชะลอตัว ขณะที่อุปทานรัสเซียไม่หายไปมากอย่างที่คาด