28.4 C
Bangkok
Thursday, March 28, 2024
https://www.thaihonda.co.th/honda/
httpswww.motorshow.in.th
https://www.ford.co.th/showroom/all-offers/?gad_source=1&gclid=CjwKCAjw7-SvBhB6EiwAwYdCAUeXeLmbyKoh6AaDtpaMUHnzvZKmqjeUcdKuGl01jW2_5mnKKbrywBoCM2cQAvD_BwE&gclsrc=aw.ds
https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars.html
https://www.thaihonda.co.th/honda/
httpswww.motorshow.in.th
FORD900x192px_1
https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars.html_BENZ900X192px
previous arrow
next arrow

20 Porsche Cayenne ความสำเร็จที่ไม่ธรรมดาของเจเนอเรชั่นที่ 3 จากตระกูล

Detlev von Platen สมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้กำกับดูแลส่วนงานขาย และการตลาด ของ Porsche AG กล่าวว่า Ferry Porsche ได้ทำนายเอาไว้เมื่อปี 1989 ว่า “หากเราสร้างรถยนต์ off-road ขึ้นมาสักคัน ตามมาตรฐานคุณภาพของเรา และติดตราสัญลักษณ์ปอร์เช่ลงบนฝากระโปรงหน้า ผู้คนจะซื้อรถคันนี้ไปใช้งาน” คำกล่าวนี้ได้รับการพิสูจน์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นับตั้งแต่ปี 2002 และ ปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) คือหนึ่งในผลลัพธ์แห่งความสำเร็จที่เป็นกระแสอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกส่งผลให้ ปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) มีบทบาทสำคัญกับแบรนด์ของเรามาโดยตลอด รถยนต์รุ่นนี้นำพากลุ่มลูกค้า และผู้ที่ชื่นชอบ รายใหม่ๆ จากทุกมุมโลก ได้เข้ามาสัมผัสกับแบรนด์ปอร์เช่เป็นระยะเวลากว่า 20 ปี

สตุ๊ทการ์ท. จากความมุ่งมั่นในการรักษาผลสำเร็จในเชิงเศรษฐศาสตร์ระยะยาว ย้อนกลับไปในช่วงกลางของทศวรรษ ยุค 1990 ช่วงเวลานั้นปอร์เช่เริ่มต้นมีเหตุการณ์ให้ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญ บริษัทได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากสถานการณ์ไม่สู้ดีจากวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น รวมถึงยอดจำหน่ายรถยนต์ที่มีเพียง 23,060 คันในปีงบประมาณ 1991-1992 ซึ่งปอร์เช่ได้เริ่มต้นหาหนทางที่จะหลุดพ้นจากวิกฤติในครั้งนั้นด้วยการเปิดตัวปอร์เช่ บ๊อกสเตอร์ (Boxster) ในปี 1996 แต่ทีมผู้บริหารเล็งเห็นว่า การมีเพียงรถสปอร์ตระดับตำนานปอร์เช่ 911 และโรดสเตอร์เครื่องยนต์วางกลางคันใหม่ จะไม่สามารถนำพาบริษัทให้รอดถึงอนาคตได้ จึงได้เริ่มต้นวางแผนการสำหรับเปิดตัว ‘ปอร์เช่คันที่ 3’ แต่ด้วยในระยะแรกยังไม่ได้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งใน Segment ใดของแบรนด์ปอร์เช่ 

จากคำแนะนำของหน่วยงานด้านการขายในสหรัฐอเมริกา บริษัทได้ตัดสินใจเลือกใช้ Seqment  off-road แทน MPV ให้กับรถปอร์เช่ รุ่นคาเยนน์ ซึ่งถือเป็นรถยนต์ที่กำลังได้รับความนิยมในพื้นที่แถบอเมริกาเหนือ และเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของปอร์เช่ ขณะนั้น Wendelin Wiedeking ผู้บริหารสูงสุด หรือ CEO ได้ตั้งเป้าขยายไปในส่วนของทวีปเอเชีย ถือเป็นตลาดใหม่อีกด้วย จากความมุ่งมันสู่ผลลัพธ์ที่เป็นเลิศตั้งแต่เริ่มต้น ปอร์เช่ไม่เพียงตั้งเป้าหมายที่จะสร้างสรรค์รถสปอร์ต SUV ในแนวทางของตนเองเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นไปที่ความคุ้มค่าในระดับที่เหนือกว่ารถยนต์ off-road ของคู่แข่ง

ภารกิจที่สำคัญในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือระหว่าง Volkswagen ภายใต้ชื่อโครงการ ‘Colorado’ ถูกประกาศตัวอย่างเป็นทางการเดือนมิถุนายนปี 1998 ปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) และ Volkswagen Touareg มีรูปแบบโครงสร้างที่เหมือนกัน แต่ในส่วนงานด้านสถาปัตยกรรมการออกแบบและเครื่องยนต์ จะถูกพัฒนาไปในทิศทางที่แตกต่างกันออกไปตามความชำนาญและเชี่ยวชาญเฉพาะตัวของแต่ละผู้ผลิต รวมทั้งพัฒนาปรับแต่งช่วงล่างในแนวทางของตนเอง ปอร์เช่เองมีหน้าที่รับผิดชอบในส่วนของการพัฒนา platform โครงสร้างที่ใช้ร่วมกัน ในพื้นที่สำนักงาน เมือง Hemmingen และในส่วนของ Volkswagen รับหน้าที่จัดสรรกำลังการผลิตด้วยความเชี่ยวชาญ

ซึ่งในปี 1999 ปอร์เช่เองตัดสินใจเลือกที่จะผลิตและประกอบรถยนต์รุ่นดังกล่าวที่โรงงานในเมือง Zuffenhausen ประเทศเยอรมนี แทนการนำไปผลิตและประกอบในประเทศเพื่อนบ้านรอบข้าง และจากนั้นทางปอร์เช่จึงก่อตั้งโรงงานแห่งใหม่เมือง Leipzig ถูกเปิดดำเนินสายการผลิตอย่างเป็นทางการในเดือนสิงหาคมปี 2002 ด้านของ Volkswagen จะดำเนินการผลิตรถยนต์รุ่น Touareg โดยโรงงานของ Volkswagen เมือง Bratislava ประเทศสโลวาเกีย รวมทั้งดำเนินการด้านสายงานการพ่นสีตัวถังรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) ที่โรงงานแห่งนี้ด้วยเช่นกัน

ส่วนสายงานการประกอบขั้นสุดท้ายของรถปอร์เช่ทั้งเจเนอเรชั่นแรกและเจเนอเรชั่นที่ 2 จะถูกประกอบขึ้นที่แคว้น Saxony โดยใช้ชื่อรหัสเรียกว่า E1 และ E2 ตามลำดับ สำหรับรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) ทั้ง 2 เจเนอชั่นนั้นล้วนผ่านการประกอบและผลิตขึ้นในโรงงานที่เมือง Leipzig และต่อมาในปี 2017 ได้มีการเปิดตัวรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) เจเนอเรชั่นที่ 3  (E3) โดยถูกประกอบและผลิตขึ้นที่โรงงานในเมือง Osnabrück ปอร์เช่จึงได้ย้ายสายการผลิตรถรุ่นคาเยนน์ (Porsche Cayenne) ทั้งหมดกลับมาที่เมือง Bratislava ประเทศสโลวาเกีย เพื่อเปิดโอกาสให้โรงงานในเมือง Leipzig ได้เพิ่มกำลังการผลิตสำหรับการประกอบรถสปอร์ตซีดาน ปอร์เช่ พานาเมร่า (Porsche Panamera) และรถสปอร์ต compact SUV ปอร์เช่ มาคันน์ (Porsche Macan)

ที่สุดของรถสปอร์ต off-road ด้วยสมรรถนะรอบด้านพร้อมความสะดวกสบายที่ครบครัน

ด้วยขนาดของตัวรถ ที่มีความกว้างขวางอย่างลงตัว ทำให้รถปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) กลายเป็นที่สุดรถประเภท off-road  สายพันธุ์แกร่งตอบโจทย์การเดินทางของทุกคนในครอบครัวได้อย่างดีเยี่ยม ด้วยสมรรถนะการขับขี่สไตล์สปอร์ตที่เป็นเอกลักษณ์อันโดดเด่นรถปอร์เช่ทุกคัน ผนวกกับคุณลักษณะอันเฉพาะตัวรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) พร้อมมอบความสะดวกสบายและอรรถประโยชน์ในระดับสปอร์ตหรูที่ครบครันมากกว่ารถ SUV ระดับเดียวกันมานานกว่า 20 ปี รถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรก (E1) ได้เริ่มต้นอย่างทรงพลังในแบบที่เราจะได้เห็นจากปอร์เช่  มาพร้อมกับทางเลือกของเครื่องยนต์แบบ V8 สองพิกัด สำหรับรุ่น คาเยนน์ เอส (Cayenne S) ติดตั้งเครื่องยนต์ขนาดความจุ 4.5 ลิตร ที่พัฒนาขึ้นใหม่ล่าสุด พร้อมพละกำลังความเร็วสูงสุดถึง 340 แรงม้า (250 กิโลวัตต์)

ขณะที่ คาเยนน์ เทอร์โบ (Cayenne Turbo) กระชากใจด้วยความแรงที่ขยับขึ้นเป็น 450 แรงม้า (331 กิโลวัตต์) จากความจุกระบอกสูบเท่ากัน ทั้ง 2 รุ่นทำความเร็วสูงสุดถึง 242 และ 266 กิโลเมตรต่อชั่วโมงตามลำดับ เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อลูกค้าผู้ที่หลงใหลในรถสปอร์ต ในความคาดหวังต่อการควบคุมระบบช่วงล่างชั้นเยี่ยม จากประสิทธิภาพการเข้าโค้งที่ถูกจัดการโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ล่าสุด ระบบ Porsche Traction Management (PTM) กระจายกำลังขับเคลื่อนระหว่างเพลาขับทั้ง 2 ข้างในอัตราส่วน 62:38 เมื่อขับขี่ในสภาวะปกติ ระบบขับเคลื่อนปรับเปลี่ยนอัตราการกระจายกำลังจากชุดคลัทช์ multi-plate และส่งต่อไปยังล้อหน้า และล้อหลังในอัตราเร่ง 0:100 จนถึง100:0 เมื่อจำเป็น เมื่อหลุดออกจากทางเรียบสู่เส้นทาง off-road ผู้ขับขี่ปอร์เช่ คาเยนน์ (Porsche Cayenne) สามารถเชื่อมั่นในชุด low-range transfer box ว่า จะยึดเกาะกับถนนได้เป็นอย่างดี

ส่วนเฟืองท้าย fully locking centre-differential มีประสิทธิภาพในการป้องกันอาการล้อหมุนฟรี แม้ในขณะล้อลอยพ้นจากพื้น ด้วยขุมพลังแห่งสมรรถนะดังกล่าว จึงทำให้รถยนต์ off-road คันแรกของปอร์เช่นั้นยอดเยี่ยม ไม่น้อยไปกว่ารถยนต์ off-road ของคู่แข่งในระดับเดียวกัน แม้กระทั่งในขั้นตอนการขับทดสอบระหว่างกระบวนการพัฒนา

คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรก (E1) นับเป็นรถยนต์รุ่นแรกของปอร์เช่ที่ได้รับการติดตั้งระบบ PASM ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่ล่าสุด ทั้งนี้ระบบ Porsche Active Suspension Management จะทำหน้าที่ร่วมกับช่วงล่างแบบชุดถุงลม air suspension ซึ่งจะทำการแปรผันค่าแรงดันภายในถุงลมอย่างต่อเนื่อง โดยคำนวณจากสภาพของพื้นถนน สไตล์การขับขี่รถยนต์ของผู้บังคับพวกมาลัย

นอกจากนี้ช่วงล่างแบบชุดถุงลม air suspension ยังมีส่วนช่วยเสริมสมรรถนะด้าน off-road ให้แก่รถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ด้วยความสูงใต้ท้องรถถึง 21.7 เซนติเมตรที่วัดได้จากช่วงล่างตามมาตรฐาน จะสามารถเพิ่มขึ้นสูงสุดได้ถึง 27.3 เซนติเมตร ด้วยประสิทธิภาพของระบบควบคุมระดับความสูงภายในชุดถุงลม air suspension ในช่วงต้นปี 2006 ปอร์เช่ได้ตอกย้ำถึงความเหนือชั้นในด้านสมรรถนะการขับขี่บนพื้นทางเรียบอีกครั้ง ด้วยการเปิดตัว คาเยนน์ เทอร์โบ เอส (Cayenne Turbo S) ที่ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากพละกำลังเครื่องยนต์สูงสุดถึง 521 แรงม้า (383 กิโลวัตต์) จากขุมพลังความจุของเครื่องยนต์ถึง 4.5 ลิตร V8 เทอร์โบคู่ เหนือกว่ามาตรฐานที่ตั้งไว้ ณ เวลาในขณะนั้น

Michael Mauer หัวหน้าฝ่ายงานออกแบบปอร์เช่ นิยามและอธิบายถึงวิวัฒนาการการออกแบบรถปอร์เช่คาเยนน์ (Cayenne) ตั้งแต่ รุ่นแรกเริ่ม จนมากลายมาเป็นรุ่นคาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นที่ 3 ในปัจจุบันนี้ไว้ว่า “มันคือการสรรสร้าง เจียระไน และความประณีต” เป็นคำคำบรรยายที่เปรียบเปรยถึงข้อมูลทางเทคนิคในเชิงการปรับสภาพด้านน้ำหนักและสมรรถนะได้อย่างเหมาะสม และชัดเจน โดยในรถเจเนอเรชั่นที่ 2 (E2) ได้ปรับใช้ชุดขับเคลื่อน low-range transfer box ด้วยระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ on-demand all-wheel-drive ที่มาพร้อมระบบคลัทช์ actively controlled multi-plate ซึ่งยังคงใช้อยู่ในรุ่นปัจจุบันอีกด้วย

นอกจากนี้ ปอร์เช่ยังนำระบบขับเคลื่อนแบบ hybrid และ plug-in hybrid มาใช้ในตัวถังเจเนอเรชั่นที่ 2 (E2) สำหรับรุ่นนี้ได้รับการติดตั้งเฟืองท้าย Torsen centre differential บนเครื่องยนต์เดิมทุกขนาดความจุ และได้รับการปรับแต่งเพิ่มพละกำลังให้สูงขึ้น พร้อมอัตราการสิ้นเปลืองพลังงานที่ประหยัดขึ้นถึง 23 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งการตกแต่งภายในห้องโดยสาร ก็ได้รับการปรับดีไซน์ด้วยการยกระดับความสูงของคอนโซลหน้าให้สะดวกต่อการใช้งานยิ่งขึ้น

Hans-Jürgen Wöhler รองประธานฝ่าย Product Line SUV ในปี 2013-2020 ณ ขณะนั้น พูดย้อนกลับไปถึงช่วงยุคของการพัฒนาคาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นที่ 3 ไว้ว่า “วัตถุประสงค์หลักในการพัฒนารุ่น E3 คือการเสริมศักยภาพให้เหนือระดับไปอีกขั้น ด้วยการทำให้รถมีความสปอร์ตหรูหรามากยิ่งขึ้น เสริมด้วยการขับขี่ที่นุ่มนวลสะดวกสบาย แต่ยังคงรักษาประสิทธิภาพและสมรรถนะในแบบของรถ off-road ไว้

ทั้งนี้ มีการพัฒนาการขั้นพิเศษของระบบช่วงล่างแบบชุดถุงลม three-chamber air suspension และระบบช่วยเลี้ยวล้อหลัง rear-axle steering เพื่อรุ่นนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งโครงสร้างตัวถังอลูมิเนียมใหม่ ช่วยลดน้ำหนัก และเสริมประสิทธิภาพในการขับขี่ให้ปราดเปรียวคล่องแคล่วอีกด้วย ซึ่งในรุ่น E3 นั้นก็ยังคงการติดตั้งระบบช่วยเหลือการขับขี่รูปแบบใหม่ให้แบบเต็มพิกัดเช่นเดิม รวมถึงแผงคอนโซลกลาง คือศูนย์รวมฟังก์ชั่นการใช้งานระบบช่วยเหลือการขับขี่ทั้งหมด

ยิ่งไปกว่านั้นรถสปอร์ต SUV รุ่นใหญ่นี้ ยังได้รับการอัพเกรดระบบติดต่อสื่อสาร อาทิ smartphone integration การเชื่อมต่อ WiFi และ Bluetooth ไปพร้อมกับการเปิดตัวรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) รุ่นที่ 3 ในปี 2017 และหลังจากนั้นปอร์เช่จึงได้ยุติการทำการตลาดในส่วนของเครื่องยนต์ดีเซลทั้งหมด และหันไปมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีระบบขับเคลื่อนแบบ plug-in hybrid ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญในการเปิดตัวรุ่นใหม่ล่าสุดของรถยนต์สปอร์ตเต็มรูปแบบอย่าง คาเยนน์ คูเป้ (Cayenne Coupé) ในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2019 ได้อย่างโดดเด่น ด้วยแนวหลังคาที่ลาดลง มอบประสบการณ์การขับขี่ให้ความรู้สึกเดียวเสมือนการขับ ปอร์เช่ 911

ยนตกรรมผู้นำสู่ยุค hybrid ยกระดับสมรรถนะระดับ super sports

ด้วยพลังงานไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวของปอร์เช่คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นที่ 3 รุ่น plug-in hybrid สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 135 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งได้ไกลถึง 44 กิโลเมตร โดยไม่มีการปล่อยมลภาวะออกจากท่อไอเสียแม้แต่น้อย และอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในช่วงทดสอบตามมาตรฐาน WLTP อยู่ที่ 24.3 ถึง 32.2  กิโลเมตรต่อลิตร หรือ 3.1 ถึง 4.1 ลิตรต่อระยะทาง 100  กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับโหมดการขับขี่ที่ตั้งค่าไว้ รวมถึงยางรถยนต์อีกด้วย

สำหรับรุ่น hybrid ที่ใช้แบตเตอรี่ high-voltage ขนาด 17.9 kWh และมอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนพละกำลัง 100 kW นอกจากจะมอบประสิทธิภาพให้แก่ตัวรถที่ดีแล้ว แต่ยังคงไว้ซึ่งสัมผัสแห่งประสบการณ์การขับขี่สไตล์สปอร์ตหรูที่ไม่เหมือนใคร โดยการนำเอานวัตกรรมเทคโนโลยีอันเปี่ยมไปด้วยสมรรถนะชั้นยอดของยนตกรรม hybrid จากปอร์เช่ 918 Spyder กับสุดยอดรถซุปเปอร์สปอร์ต ในสายการผลิต สามารถทำเวลาทดสอบต่อรอบสนามที่ Nürburgring-Nordschleife ได้เร็วที่สุดในขณะนั้นด้วยความเร็วแรงในการขับเคลื่อนที่โดดเด่นด้วยระบบ hybrid

ปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ที่ทรงพลังที่สุดคือรุ่น เทอร์โบ เอส อี ไฮบริด (Turbo S E-Hybrid) เปิดตัวตั้งแต่ปี 2019 พกพาพละกำลังรวมทุกระบบสูงสุดถึง 680 แรงม้า (500 กิโลวัตต์) เช่นเดียวกับรถยนต์ plug-in hybrids ทุกคันจากปอร์เช่ ซึ่งผู้ขับขี่รถสปอร์ตรุ่นนี้ สามารถใช้พลังไฟฟ้ามาเสริมแรงเร่งได้ในทุกโหมดการขับขี่ เช่น  คาเยนน์ เทอร์โบ เอส อี ไฮบริด (Cayenne Turbo S E-Hybrid) นั้นมีความแรงเร่งความเร็วรวมระยะได้ในระดับมหาศาลมากกว่าถึง 900 นิวตันเมตร พร้อมทะยานสู่ความเร็วนั้นได้ทันทีที่แตะคันเร่ง สามารถทำให้การออกตัวของรถสปอร์ต SUV รุ่นนี้จากความเร็ว 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมงได้ภายใน 3.8 วินาที ซึ่งการใช้งานในชีวิตประจำวันที่หลากหลายรูปแบบ ผู้ขับขี่สามารถไว้วางใจกับโหมดการขับขี่อัจฉริยะ พร้อมสนุกสนานไปกับพละกำลังมหาศาลที่มาพร้อมความประหยัดในการใช้พลังงานได้สบายใจ

กลับไปในปี 2007 รากฐานของรถยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน คือรุ่นปรับโฉมของปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรก ซึ่งมีความใกล้เคียงกับรถยนต์ต้นแบบ series-production concept study ของ คาเยนน์ เอส ไฮบริด (Cayenne S Hybrid) ได้ถูกนำมาจัดแสดงในงานมหกรรมยานยนต์ IAA ซึ่งปอร์เช่แตกต่างจากผู้ผลิตรถยนต์รายอื่น ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นในระบบ power-split hybrid ได้ และยังทำให้มั่นใจในระบบ parallel full hybrid ได้อีกด้วย และด้วยการดีไซน์ในลักษณะนี้ มอเตอร์ไฟฟ้าจะมีบทบาทตั้งแต่รถเริ่มทำงาน จนกระทั่งวิ่งด้วยความเร็วสูง ผลลัพธ์คือรถยนต์ต้นแบบคันนี้สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดกว่า 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยที่เครื่องยนต์สันดาปภายนไม่ต้องทำงาน ทั้งนี้มอเตอร์ไฟฟ้ายังมีส่วนช่วยในเรื่องของอัตราเร่ง และความยืดหยุ่น

ในที่สุดปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) รุ่นระบบขับเคลื่อนแบบ full hybrid ออกสู่ตลาดในปี 2010 บนตัวถังเจเนอเรชั่นที่ 2  และถือเป็นรถ hybrid จากสายการผลิตคันแรกของปอร์เช่ จากผลจากการผนึกกำลังระหว่างเครื่องยนต์เบนซินความจุ 3 ลิตร V6 ซุปเปอร์ชาร์จ 333 แรงม้า มอเตอร์ไฟฟ้าแบบซิงโครไนซ์ขนาด 47 แรงม้า (34 กิโลวัตต์) ให้พละกำลังรวม 380 แรงม้า (279 กิโลวัตต์)

ต่อมาภายหลังอีก 4 ปี ปอร์เช่ถือกำเนิดรถยนต์รุ่น plug-in hybrid เป็นรุ่นแรก ถือได้ว่าปอร์เช่เป็นผู้บุกเบิกรถยนต์ไฟฟ้าในระดับพรีเมียม SUV อย่างแท้จริง ถัดมาที่รุ่นคาเยนน์ เอส อี ไฮบริด (Cayenne S E-Hybrid) เป็นรุ่นที่สามารถวิ่งด้วยพลังงานไฟฟ้าอย่างเดียวได้ในระยะทางมากกว่า 30 กิโลเมตร ส่งผลมาจากการที่แบตเตอรี่ nickel-metal hydride ถูกแทนที่ด้วย lithium-ion โดยที่เครื่องยนต์สันดาปภายในยังคงเดิม และในขณะที่มอเตอร์ขับเคลื่อนให้พละกำลังเพิ่มขึ้นเป็น 95 แรงม้า (70 กิโลวัตต์) พลังรวมจากทุกระบบจะขยับขึ้นเป็น 416 แรงม้า (306 กิโลวัตต์)

Supercar ที่วิ่งได้ทุกเส้นทาง รวมถึงความสำเร็จในการแข่งแรลลี่ และสถิติเวลารอบสนาม

ปอร์เช่ คาเยนน์ คือรถสปอร์ตที่มีความครบครันรอบด้าน ผ่านบทพิสูจน์ความแข็งแกร่งมาแล้วในทุกสภาพอากาศที่สุดขั้ว ย้อนกลับไปเมื่อปี 2006 ทีมแข่งแรลลี่อิสระ 2 ทีม เข้าร่วมการแข่งขันรายการ Transsyberia Rally ด้วยรถปอร์เช่ คาเยนน์ เอส (Porsche Cayenne S) ระยะทางจาก มอสโก(Moscow) เดินทางข้ามไปไซบีเรีย (Siberia) ประเทศรัสเซีย จนถึง อูลานบาร์ตอ (Ulaanbaatar) ในมองโกเลีย และจบการแข่งขันในอันดับที่ 1 และอันดับ 2 ตามลำดับ ปอร์เช่เองได้รับแรงบันดาลใจจากชัยชนะครั้งนี้ และนำพัฒนาเป็นรถแข่งรุ่น limited ด้วยโมเดลรุ่น คาเยนน์ เอส (Cayenne S) Transsyberia จำนวน 26 คัน เพื่อตอบโจทย์สำหรับการแข่งขันแรลลี่ทางไกล และตอบสนองความต้องการกลุ่มลูกค้ากลุ่มมอเตอร์สปอร์ตในการแสวงหารถยนต์ที่พร้อมลงแข่งเพื่อคว้าแชมป์ ซึ่งกองทัพรถแข่งตัวแรงดังกล่าวสร้างผลงานชั้นยอดด้วยอันดับ 1 ,อันดับ 2 และอันดับ 3 ตามลำดับ ในรายการแข่งขัน Transsyberia 2007 จบการแข่งขันด้วยสถิติการติดอันดับ top 10 ทั้งหมด 7 รายการ

ด้วยในฐานะรถแข่งที่มีพื้นฐานมาจากคาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรก ทำให้ปอร์เช่ คาเยนน์ เอส (Cayenne S) Transsyberia ได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ถูกออกแบบมาโดย โดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยยางรถยนต์ชุดพิเศษ specialist all-terrain ,โครงสร้างตัวถังนิรภัย safety cage ,เพลาขับ shorter axle ratio, ฟันเฟืองท้ายแบบ differential lock พร้อมปีกนกคู่หน้าแบบ reinforced และแผ่นปิดใต้ท้องรถแบบ reinforced มาพร้อมพละกำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ V8 กับความแรงถึง 385 แรงม้า (283 กิโลวัตต์) รวมถึงประสบการณ์ที่ได้รับจากการแข่งขันแรลลี่นั้น ทำให้ถูกนำข้อได้เปรียบมาพัฒนาต่อยอดขุมพลังเครื่องยนต์ใหม่ มาพร้อมระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงตรงเข้าห้องเผาไหม้หรือเรียกว่า direct fuel injection ลดอัตราสิ้นเปลืองลงได้สูงสุดถึง 15 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นยังเพิ่มเติมระบบ Porsche Dynamic Chassis Control (PDCC) รุ่นล่าสุด ทำงานร่วมกับ active anti-roll bars ที่ลดอาการสั่นสะเทือนของตัวของรถเมื่อเข้าโค้ง รวมถึงการปรับแต่งการทำงานของเพลาขับของรถให้ส่งกำลังได้อย่างต่อเนื่อง และในปี 2008 รถแข่งปอร์เช่ คาเยนน์ เอส (Cayenne S) Transsyberia  ทั้ง 19 คัน ได้ลงแข่งในรายการ Siberia Rally และสามารถจบการแข่งขันในอันดับที่ 6 ของการทำผลงานได้ดีจาก 10 อันดับแรก

รถปอร์เช่ คาเยนน์ เทอร์โบ จีที (Cayenne Turbo GT) ถือว่าเป็นรุ่นที่ทรงพลังในระดับแถวหน้าของโมเดลคาเยนน์ (Cayenne) ที่ต้องการระยะทางเพียงอีก 20.832 กิโลเมตรเท่านั้นเพื่อเป็นบทพิสูจน์แสดงให้เห็นถึงสมรรถนะชั้นเลิศจากการแข่งขันรถยนต์แรลลี่ใน Transsyberia Rally ด้วยระยะทางรวมการแข่งขันมากกว่า 7,000 กิโลเมตร และต้องใช้ระยะเวลาในการแข่งขันประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่ง Lars Kern นักขับทดสอบสังกัดโรงงานของปอร์เช่ ได้สร้างสถิติดังกล่าวในประเภทของรถยนต์ SUVs บนสนามแข่ง Nürburgring-Nordschleife อันโด่งดัง โดยสามารถทำสถิติเวลาต่อรอบในสนามที่ 7:38.925 นาที เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2021 ที่ผ่านมา

โยตัวรถได้ผ่านการปรับแต่งเพื่อให้มีอัตราเร่ง และประสิทธิภาพในการบังคับควบคุมอย่างดี และสมรรถนะรุ่น เทอร์โบ จีที (Turbo GT)  สามารถมอบพละกำลังสูงสุดถึง 640 แรงม้า (471 กิโลวัตต์) ที่ได้จากเครื่องยนต์ขนาด 4 ลิตร V8 เทอร์โบคู่ คือสิ่งที่นำมาซึ่งคุณลักษณะของรถสปอร์ตเต็มตัว รวมถึงความสามารถในการเร่งความเร็วการออกตัวได้มากถึง 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (62.14 ไมล์ต่อชั่วโมง) ใน 3.3 วินาที ความเร็วสูงสุดทะยานไปถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (186.14 ไมล์ต่อชั่วโมง) และอุปกรณ์พื้นฐานที่มาพร้อมกับตัวรถนั้น จะสามารถมอบประสบการณ์ความสปอร์ตหรูได้ดียิ่งขึ้น รวมทั้งห้องโดยสารภายใน ที่ถูกดีไซน์มาในรูปแบบ 4 ที่นั่งสไตล์รถสองประตูคูเป้ และรุ่นปอร์เช่ คาเยนน์ เทอร์โบ จีที (Cayenne Turbo GT) สามารถเลือกติดตั้งระบบช่วงล่างได้ตามความต้องการทุกรูปแบบ พร้อมยางรถยนต์ที่มีประสิทธิภาพสูงจากการถูกพัฒนาสำหรับรถรุ่นนี้โดยเฉพาะ พร้อมระบบขนส่งพละกำลังความเร็ว และระบบช่วงล่างที่ถูกปรับแต่งเป็นพิเศษ ผสมผสานอัดก่อเกิดความลงตัวตามแนวทางของรถสนามสายพันธุ์พันธ์แรงอัดเต็มไปด้วยสมรรถนะครบรอบด้าน

เริ่มจากการเฉิดฉายด้วยโครงการ  ‘Roadrunner’ ทะยานสู่ยนตกรรม จีทีเอส (GTS) คันแรกของยุคสมัย

ผู้พัฒนาปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นแรกเล็งเห็นถึงความสามารถรุ่นย่อยที่จะเปิดตัวออกมาเป็นตัวแทนรถในรูปแบบ on-road ไว้แล้ว จากการประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก หลังการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ และการวางจำหน่ายรถรุ่นดังกล่าวได้เกิดขึ้นรุ่นย่อยตามมาในไม่ช้า และระหว่างขั้นตอนการพัฒนารุ่น E1 เมื่อปี 1998 และปี 2004 ทำให้ Oliver Laqua ผู้จัดการโครงการ คาเยนน์ (Cayenne) ในปัจจุบัน ผู้ซึ่งเคยทำงานตำแหน่ง concept engineer และทีมงานของเค้ามีความคิดเห็นตรงกันว่า การออกแบบคาเยนน์ (Cayenne) ควรออกแบบให้มีภาพลักษณ์แนวสปอร์ตมากยิ่งขึ้นในทุกด้าน ด้วยความมุ่งมั่นและปรารถนาอันแรงกล้าของวิศวกรหนุ่มที่มีความชัดเจนตั้งแต่แรกเริ่ม ทำให้เป้าหมายของ Oliver Laqua คือการพัฒนารถยนต์ที่มีน้ำหนักเบาลง ภายใต้ชื่อโครงการ ‘Roadrunner’

Oliver Laqua กล่าวเอาไว้ว่า “เราต้องวางแผนการจัดการในชิ้นส่วนของชุด transfer case เนื่องจากมันสามารถลดน้ำหนักให้เบาลงได้ถึง 80 กิโลกรัม และเรายังพิจารณาถึงการนำเอาเบาะที่นั่ง racing bucket seats แบบ 4 ตำแหน่งมาใช้เพื่อลดน้ำหนักของตัวรถให้เบาลง รวมทั้งการยกระดับอัดแน่นความสปอร์ตให้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเป็นจริงคือโครงการ ‘Roadrunner’ มีความเหมาะสมเป็นพิเศษกับรถยนต์ที่ใช้ระบบขับเคลื่อนล้อหลัง แต่ยังสร้างความน่าสนใจให้กับบรรดาคณะกรรมการบริหารได้ไม่มากนัก เช่นเดียวกับเบาะ bucket seats ที่ไม่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายในการใช้งาน และเมื่อกลับพิจารณาถึงด้านระบบของการขับเคลื่อน นักพัฒนาได้คิดแนวทางในการทำงาน ด้วยเครื่องยนต์ V8 ไร้ระบบอัดอากาศ จะถูกแทนที่ด้วยเครื่องยนต์เทอร์โบ อีกทั้งโครงการนี้ ไม่ได้เพียงแต่คิดถึงพละกำลังที่จะได้จากความแรงของเครื่องยนต์เท่านั้น แต่ตัวรถต้องมีอัตราการตอบสนองที่ยอดเยี่ยมด้วยเช่นกัน ทั้งนี้อุปกรณ์พื้นฐานที่ประกอบไปด้วยเกียร์ธรรมดา 6 จังหวะ และช่วงล่างที่ถูกปรับแต่งมาเป็นพิเศษ และเป็นครั้งแรกที่ทำให้ปรับระบบของช่วงล่างเป็นลักษณะของเหล็กกล้าและรับการเสริมประสิทธิภาพด้วยระบบ PASM ซึ่งระบบนี้ได้ถูกสงวนไว้ใช้กับรถสปอร์ตสองประตูมาโดยตลอด รวมทั้งชิ้นส่วนด้านหน้า และด้านหลังถูกปรับรูปแบบให้มีความใกล้เคียงกับรุ่น คาเยนน์ เทอร์โบ (Cayenne Turbo) รวมไปถึงซุ้มล้อที่ถูกเพิ่มขยายขนาดใหญ่ขึ้นฝั่งละ 14 มิลลิเมตร เพื่อเสริมภาพลักษณ์ที่ดุดันให้กับรถรุ่นใหม่อย่างเต็มพิกัด นอกจากนี้ความสูงของช่วงล่างยังลดลงถึง 24 มิลลิเมตรเมื่อเทียบกับ คาเยนน์ เอส (Cayenne S)

ที่มาของชื่อรุ่น 928 จีทีเอส (928 GTS)  เป็นรุ่นที่ถูกยกเลิกการผลิตไปเมื่อปี 1995 รวมถึงชื่อรุ่น 904 คาร์เรร่า จีทีเอส (904 Carrera GTS) เป็นรถปอร์เช่ช่วงยุค 1960 โดยแรงบันดาลใจการตั้งชื่อของทั้ง 2 รุ่น ถูกนำมาจากหนังสือประวัติศาสตร์ของปอร์เช่  โดยรถสปอร์ตปอร์เช่ทุกรุ่นที่มีอักษรต่อท้าย ‘GTS’ มีความหมายมาจากคำว่า ‘Gran Turismo Sport’ เป็นสิ่งที่แสดงถึงสมรรถนะรถสปอร์ตที่ผนวกเข้ากับความโดดเด่นของศักยภาพในการเดินทางระยะยาว

รถปอร์เช่ คาเยนน์ จีทีเอส (Cayenne GTS) รุ่นแรกนั้น ได้เปิดตัวในปี 2007 ในฐานะรุ่นที่พลิกโฉมใหม่ของรถเจเนอเรชั่น E1 มีพละกำลังสูงสุดถึง 405 แรงม้า (298 กิโลวัตต์) จากเครื่องยนต์ขนาด 4.8 ลิตร ด้วยขุมพลังการขับเคลื่อนของเครื่องยนต์ด้วยระบบไร้การช่วยอัดอากาศที่ติดตั้งมาในเครื่องยนต์ของปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ทุกรุ่น ซี่งเจเนอเรชั่นที่ 2 ของรุ่น จีทีเอส (GTS) นั้นมีพละกำลังที่เพิ่มขึ้นมาให้เป็น 420 แรงม้า (309 กิโลวัตต์) สำหรับรุ่นที่ถูกปรับโฉมในปี 2015 ปอร์เช่  ได้เปลี่ยนเครื่องยนต์จาก V8 ระบบไร้การช่วยอัดอากาศมาเป็น V6 เทอร์โบคู่ พร้อมประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นในหลายๆ ด้าน ถึงแม้จะมีความจุของกระบอกสูบที่ลดลง แต่สามารถให้พละกำลังที่สูงเพิ่มขึ้นมาถึง 20 แรงม้า (15 กิโลวัตต์) รวมทั้งประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากขึ้นกว่าเดิม

สำหรับคาเยนน์ จีทีเอส (Cayenne GTS) ในรุ่นปัจจุบัน ปอร์เช่ได้นำเครื่องยนต์ 8 สูบกลับมาติดตั้งในตัวเครื่องอีกครั้ง ด้วยการติดตั้งขุมพลังความแรงถึง 460 แรงม้า  (338 กิโลวัตต์) ด้วยความจุเครื่องยนต์ขนาด 4 ลิตรแบบ V8 เทอร์โบคู่ ทำให้คาเยนน์ จีทีเอส (Cayenne GTS) สะท้อนให้เห็นถึงความมีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ส่งผลให้รถสปอร์ตปอร์เช่รุ่นปัจจุบัน ได้แบบอย่างวิธีการเสริมความครบถ้วนให้ตรงต่อความต้องการทุกระดับมาจากรุ่น จีทีเอส GTS

เปิดประตูสู่โลกใบใหม่ไปกับปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ด้วยตลาดกลุ่มใหม่ พร้อมฐานลูกค้ากลุ่มใหม่

เพียงไม่นานหลังจากเปิดตัวครั้งแรกของโลกในงานมหกรรมยานยนต์ Paris Motor Show เมื่อเดือนกันยายนในปี 2002 ปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) กลายเป็นรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จไปทั่วโลก และถือเป็นอีกรุ่นหนึ่งที่มียอดจำหน่ายสูงเกินความคาดหมายอย่างมากจากเป้าที่ถูกตั้งเอาไว้  โดยปอร์เช่คาดการณ์เอาไว้ว่าจะมียอดส่งมอบต่อปีอยู่ที่ปีละ 25,000 คัน และตลอดระยะเวลา 8 ปีของการทำการตลาดในเจเนอเรชั่นแรกนั้น มียอดจำหน่ายที่สูงถึง 276,652 คัน คิดเป็นยอดขายต่อปีเกือบ 35,000 คัน ซึ่งรถปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ก็ได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่องจนถูกจับจองเป็นเจ้าของถึงหลักล้านคัน และมีรุ่นที่ถูกผลิตและประกอบขึ้นจากสายการผลิตในช่วงฤดูร้อนตั้งแต่ปี 2020 ที่ผ่านมา ได้มีการทำเรื่องส่งมอบถึงมือลูกค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จำนวนกว่า 80,000 คันจากฐานข้อมูลในปี 2021 ล่าสุด

Oliver Blume ประธานกรรมการบริหารของ Porsche AG ได้กล่าวภายในงานเปิดตัวคาเยนน์ (Cayenne) เจเนอเรชั่นสามครั้งแรกของโลก ซึ่งจัดขึ้นบริเวณดาดฟ้าของพิพิธภัณฑ์ Porsche Museum เมื่อปี 2017 ไว้ว่าสำหรับปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) ถือได้ว่าเป็นรถยนต์รุ่นที่สามารถสร้างฐานความต้องการของรถรุ่นนี้ได้อย่างสำเร็จ และยั่งยืนแก่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ที่ให้คุณค่าต่อวงการมอเตอร์สปอร์ตได้อย่างสวยงาม ด้วยผลงานที่น่าพอใจของคาเยนน์ (Cayenne) ส่งผลให้เราประสบความสำเร็จในการสร้างตำนานบทใหม่แก่ปอร์เช่ และนำพาเราก้าวข้ามไปสู่ตลาดกลุ่มใหม่ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ซึ่งรถสปอร์ต SUV ของเรานั้นได้ผ่านบทพิสูจน์แล้วด้วยการได้เป็นรถที่มียอดจำหน่าย และอัตราการเติบโตสูงสุดตั้งแต่ปี 2002 ไม่เพียงแค่นั้น ปอร์เช่ คาเยนน์ (Cayenne) คือรถยนต์ที่เปิดประตูบานใหม่นำพาเราก้าวเข้าสู่ตลาดกลุ่มใหม่ ๆ มากมาย รวมทั้งก่อให้เกิดการขยายตัวของเครือข่ายการจำหน่ายไปสู่ระดับสากลอย่างเด่นชัด

Detlev von Platen สมาชิกคณะกรรมการบริหาร ผู้กำกับดูแลส่วนงานขาย และการตลาดของปอร์เช่ กล่าวทิ้งท้ายภายในงานไว้ว่า ในฐานะยนตกรรมสปอร์ต SUV ที่มีสไตล์ไม่เหมือนใครของคาเยนน์ (Cayenne) ได้มีส่วนช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ของเราให้แข็งแกร่งเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศจีน และในตลาดทวีปเอเชีย นี่คือรถยนต์ปอร์เช่รุ่นที่มีความต้องการสูงสุดทั่วทุกแห่งของโลก และผมเชื่อมั่นว่าในอนาคตข้างหน้า รถยนต์รุ่นนี้จะยังคงรักษาระดับความนิยมอันยอดเยี่ยมเอาไว้ได้อย่างแน่นอน

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
21,600SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles