29.9 C
Bangkok
Monday, September 16, 2024
https://www.thaihonda.co.th/honda/
https://www.thaihonda.co.th/honda/
https://www.thaihonda.co.th/honda/
https://www.thaihonda.co.th/honda/
previous arrow
next arrow

ผู้พิทักษ์ชีวิตบนถนนในรูปแบบดิจิทัล

เมืองแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี คอนติเนนทอลและ Deutsche Telekom ได้ร่วมกันพัฒนาระบบเตือนอุบัติเหตุระหว่างยานพาหนะที่มีการเชื่อมต่อและนักปั่นจักรยาน รวมถึงผู้ขับขี่รถจักรยานไฟฟ้า สกู๊ตเตอร์และคนเดินถนนที่อาจเสี่ยงอันตราย ด้วยการคำนวณเส้นทางที่รถยนต์และรถจักรยานใช้ และหากมีแนวโน้มว่าจะมีการมาประสานกัน ระบบก็จะเตือนผู้ใช้ถนนทั้งสองทางผ่านการสื่อสารเคลื่อนที่แบบเรียลไทม์ โดยได้รับความสำเร็จจากการทดสอบบนถนนเบื้องต้นแล้ว

คาร์สเต็น มิเชลส์ (Karsten Michels) หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาขั้นสูงของคอนติเนนทอล กล่าวว่า “ผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงอันตรายอย่างเช่นคนเดินถนนหรือ นักปั่นจักรยาน มักจะถูกมองข้ามในขณะจราจรบนท้องถนน จึงก่อให้เกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ตามรายงานของ European Road Safety Council แต่ด้วยระบบเครือข่ายและการเตือนการชนแบบเรียลไทม์ จะทำให้ผู้ใช้ถนนมองเห็นนักปั่นจักรยานหรือคนเดินถนนได้ง่ายขึ้น จึงช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง และการเสียชีวิตจากการจราจรได้”

โอลิเวอร์ บาห์นส์ (Oliver Bahns) ผู้รับผิดชอบฝ่ายการเชื่อมต่อยานยนต์ของ T-Systems กล่าวว่า “เรากำลังสร้างเทวดาผู้พิทักษ์รูปแบบดิจิทัลในการเตือนการชนที่อาจเกิดกับผู้ขับขี่จักรยานหรือจักรยานไฟฟ้า และสกู๊ตเตอร์ โดยปัจจัยสำคัญคือการเชื่อมต่อขั้นสูง ทั้งนี้ประชากรในยุโรปประมาณ 85% มีการใช้สมาร์ทโฟน และมีรถยนต์ที่มีการเชื่อมต่อมากขึ้นเรื่อยๆ จึงสามารถรับประกันได้ถึงการตอบสนองอย่างทันท่วงทีด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ในเครือข่ายการสื่อสารของเรา”

GPS การสื่อสารเคลื่อนที่ และการประมวลผลคลาวด์

การทำงานของระบบเตือนการชนจะขึ้นอยู่กับตำแหน่งดาวเทียม (GPS) เซ็นเซอร์เร่งความเร็ว การสื่อสารเคลื่อนที่ และการประมวลผลคลาวด์ โดยการส่งตำแหน่งและอัตราการเร่งของรถไปยังคลาวด์ผ่านระบบสื่อสารเคลื่อนที่ และส่งข้อมูลแบบเดียวกันของจักรยานผ่านระบบสมาร์ทโฟน และคำนวณเส้นทางที่จะเกิดใน 5 วินาทีถัดไป จากนั้นจะส่งคำเตือนไปยังอุปกรณ์ของผู้ขับขี่รถและจักรยานหากมีเหตุการณ์ที่อาจจะชนกันได้เกิดขึ้น โดยใช้การประมวลผลคราวด์บนเครือข่ายเคลื่อนที่ที่อยู่ใกล้กับตำแหน่งเหตุการณ์มากที่สุด เพื่อให้ข้อมูลเข้าถึงผู้ใช้ถนนได้เร็วที่สุด หรือที่เจ้าหน้าที่ทางเทคนิคเรียกว่าวิธีการประมวลผลแบบ multi-access edge

ทั้งนี้ ยังมีการพัฒนาระบบเตือนการชนในชีวิตประจำวันระดับสากล และจะมีการนำเสนอผลงานภายในงาน ITS World Congress เป็นงานแสดงสินค้าชั้นนำของระบบขนส่งอัจฉริยะ ที่จะจัดขึ้นที่เมืองฮัมบูร์ก ตั้งแต่ 11-15 ตุลาคม นี้ โดยระบบเตือนการชนนี้กำลังได้รับการพัฒนาในโครงการ Reallabor Hamburg และได้รับเงินทุนจากกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน

Real Lab Hamburg (RealLabHH) เป็นโครงการการขับเคลื่อนของอนาคตที่ได้รับการทดสอบในขณะนี้ เพื่อเป็นแบบแผนของการขับเคลื่อนแบบดิจิทัลแห่งอนาคต โดยใช้ข้อถกเถียงของสังคมเกี่ยวกับบริการการขับเคลื่อนแบบดิจิทัลเป็นศูนย์กลาง เพื่อให้ข้อมูลเชิงลึกเป็นตัวชี้วัดแนวทางการปฏิบัติ โดยมีโครงการย่อยทั้งหมด 11 โครงการ ตั้งแต่งบประมาณด้านการขับเคลื่อนจนถึงการสร้างรูปแบบการเคลื่อนที่ที่เป็นอิสระจากผู้ให้บริการ รวมถึงทางออกสำหรับผู้ใช้ถนนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

ทั้งนี้ ได้มีการวางแผนให้ประชาชนได้มีส่วนร่วม ภายใต้การนำกลุ่มบริษัท Hamburger Hochbahn AG (HOCHBAHN) และจะมีการนำเสนอผลลัพธ์ที่งาน ITS World Congress 2564 และยังได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงคมนาคมและโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMVI) ในการเป็นเจ้าภาพการประชุมที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้านระบบและการบริการขนส่งอัจฉริยะ (ITS) จะจัดระหว่าง 11-15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ทั้งนี้ RealLabHH เป็นโครงการที่มาจากความริเริ่มเริ่มของ National Platform Future of Mobility (NPM) ซึ่งจะดำเนินไปจนถึงสิ้นปี 2564 โดยได้รับทุนจาก BMVI เป็นเงินประมาณ 20.5 ล้านยูโร

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,000SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles