26.8 C
Bangkok
Thursday, November 21, 2024
รถ​ Mitsubishi
163732
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
AD Banner_900x180
FORD900x192px_1
Honda_900x192px 2024
previous arrow
next arrow

กรมขนส่งฯ ผนึก ไทยฮอนด้า ทำ MOU พัฒนาสื่อเรียนรู้คาดการณ์อุบัติเหตุ เสริมทักษะให้ผู้ขอรับและต่ออายุใบขับขี่ฯ มุ่งลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ

กรมขนส่งทางบก จับมือ ไทยฮอนด้า ร่วมกันลงนาม MOU เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้คาดการณ์อุบัติเหตุ มุ่งเสริมทักษะให้กับผู้ขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ตั้งเป้ายกระดับความปลอดภัยและลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก พร้อมด้วย มร.ชิเกโตะ คิมูระ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาสื่อการสอนเพื่อเรียนรู้และฝึกฝนการคาดการณ์อุบัติเหตุ (Hazard Perception) เพื่อเป้าหมายสู่การยกระดับความปลอดภัยและลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน โดยเตรียมเพิ่มเนื้อหาการคาดการณ์เป็นหนึ่งในกระบวนการอบรมให้ความรู้กับผู้ที่จะขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ ภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2566 นี้

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบก เปิดเผยว่า กรมการขนส่งทางบกมีความมุ่งมั่นในการลดอุบัติเหตุทางถนนซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของประเทศไทย ตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงคมนาคม โดยในปี 2565 ที่ผ่านมา ประเทศไทยยังมีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนมากถึง 17,379 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 26.65 คนต่อแสนประชากร และพบว่าการเกิดอุบัติเหตุจำนวนมากมีปัจจัยมาจากความผิดพลาดของผู้ขับขี่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการประเมินสถานการณ์

“กรมการขนส่งทางบกในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแลการขนส่งทางถนนให้มีความปลอดภัย ได้ให้ความสำคัญในการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานของผู้ขับขี่ และมีความมุ่งหวังที่จะยกระดับมาตรฐานการออกใบอนุญาตขับรถซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการคัดกรองและพัฒนาผู้ขับขี่ โดยกรมการขนส่งทางบก ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับ บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด ในการพัฒนาการสื่อการเรียนรู้เรื่องการคาดการณ์อุบัติเหตุ จัดทำ ‘โครงการวีดิทัศน์การคาดการณ์อุบัติเหตุ (Hazard Perception)’ เพื่อนำไปใช้ในการอบรมให้ความรู้และบรรจุในกระบวนการทำใบอนุญาตให้กับผู้ที่จะขอรับและขอต่ออายุใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ สำหรับหน่วยงานในสังกัดกรมการขนส่งทางบก และโรงเรียนสอนขับรถที่กรมการขนส่งทางบกให้การรับรองทั่วประเทศ ซึ่งจะมีผลอย่างสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน พ.ศ.2566 นี้” อธิบดีกรมการขนส่งทางบก กล่าว

มร.ชิเกโตะ คิมูระ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด กล่าวว่า “ฮอนด้ามีความมุ่งมั่นมากว่า 34 ปี ในการส่งเสริมการขับขี่ปลอดภัยในประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการ Honda Safety Thailand ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้ที่ช่วยฝึกทักษะการขับขี่ที่ถูกต้อง พร้อมปลูกจิตสำนึกและสร้างวัฒนธรรมการขับขี่ปลอดภัย เพื่อเป้าหมายลดอุบัติเหตุและสร้างสังคมไทยสู่ Zero Accident Society ให้ได้ในอนาคต”

“หนึ่งในเครื่องมือที่ฮอนด้าได้พัฒนาขึ้น คือ เว็บไซต์ HondasafetyAPT.com การฝึกทักษะคาดการณ์อุบัติเหตุ ที่เราร่วมกับศูนย์วิจัยอุบัติเหตุแห่งประเทศไทย (Thailand Accident Research Center :TARC) ศึกษาข้อมูลสถิติอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจริงกว่า 1,000 เคส นำมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุเพื่อหาทางป้องกันและพัฒนาเป็นอนิเมชั่นให้ผู้ใช้รถจักรยานยนต์ได้เรียนรู้และฝึกฝน โดยฮอนด้ามีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่กรมขนส่งทางบกเห็นความสำคัญและเสนอให้เราได้สนับสนุนในการพัฒนา จากรูปแบบอนิเมชั่นเป็นการจำลองสถานการณ์จริงในวิดีโอจำนวน 30 เคสอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด เพื่อให้ผู้ใช้นำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ง่ายขึ้น” ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า จำกัด กล่าว

ทั้งนี้ รูปแบบของวีดิทัศน์การคาดการณ์อุบัติเหตุ จะมีความยาวไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง จำนวน 30 ตอน แบ่งเนื้อหารายละเอียดตามหัวข้อ ดังนี้ การคาดการณ์อุบัติเหตุ ตัวอย่างสถานการณ์การคาดการณ์อุบัติเหตุ (Hazard Perception) การขับรถเชิงป้องกันอุบัติเหตุ (Defensive Driving) และข้อแนะนำในการขับรถที่ถูกต้อง (Driving Tip) เป็นต้น

“สื่อวีดิทัศน์การคาดการณ์อุบัติเหตุ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเสริมสร้างความรู้และทักษะในการคาดการณ์เชิงป้องกันอุบัติเหตุ อันจะนำไปสู่การลดจำนวนอุบัติเหตุ และป้องกันการสูญเสียชีวิตและทรัพย์สิน โดยกรมการขนส่งทางบกจะประชาสัมพันธ์สื่อวีดิทัศน์ฯ ผ่านสื่อของกรมการขนส่งทางบกในการให้ความรู้ประชาชนต่อไป”

สำหรับบุคคลทั่วไปที่สนใจฝึกฝนทักษะการคาดการณ์อุบัติเหตุ สามารถคลิกเข้าไปศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ HondasafetyAPT.com ประกอบด้วยเคสความเสี่ยงที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง โดยมีทั้งรถจักรยานยนต์ รถยนต์ รถปิกอัพ และรถบรรทุก รวมทั้งสิ้นมากถึง 70 เคส และเกิดจากสาเหตุหลากหลายลักษณะ อาทิ จุดอับจุดบอด เหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง และจากสภาพแวดล้อม ซึ่งการได้เข้าไปเรียนรู้และฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอจนเกิดเป็นทักษะความชำนาญ หากเผชิญสถานการณ์จริงจะสามารถช่วยให้ผู้ขับขี่ประเมินสถานการณ์และตัดสินใจได้อย่างถูกต้องและช่วยลดอุบัติเหตุได้ในที่สุด

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
22,100SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles