ทุกวันนี้เราคุ้นเคยกับ Telemedicine ทางเลือกใหม่ในการหาหมอยุคโควิด -19 กันมากขึ้น และหลายหน่วยงานเริ่มมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลกลุ่ม Healthtech มาใช้อย่างจริงจังเพื่อตอบสนองความต้องการอย่างเร่งด่วนจนคาดการณ์ได้ว่า นี่อาจเป็น แนวทางรับบริการทางการแพทย์แบบใหม่ที่ผู้คนจะนิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในอนาคต
เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างทันท่วงที หน่วยงานทางการแพทย์จำเป็นต้องเร่งศึกษาและเริ่มนำเทคโนโลยีนี้มาใช้ เริ่มที่เครื่องมือใกล้ตัวที่ทุกคนใช้กันเป็นประจำอยู่แล้ว อย่าง LINE Official Account ตัวช่วยสมบูรณ์แบบที่สามารถเชื่อมโยงกับระบบ Telemedicine ให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้แบบเรียลไทม์ผ่าน LINE ปรึกษากันได้อย่างใกล้ชิดและต่อติดระหว่างกันได้ไม่สะดุด นอกจากจะช่วยลดอัตราเสี่ยงรับเชื้อเพิ่มจากการเดินทาง ลดความหนาแน่นของผู้ป่วยในโรงพยาบาล และลดปัญหาผู้ป่วยอื่นติดเชื้อซ้ำจากสถานการณ์การแพร่ระบาดแล้ว ยังสร้างความประทับใจในบริการที่สะดวก รวดเร็ว และคล่องตัว โดยผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม แค่ใช้เครื่องมือสื่อสารที่ใช้เป็นประจำอยู่แล้วอย่าง LINE เท่านั้น
บทบาทของ LINE OA ในบริการสาธารณสุข
นอกจากเป็นช่องทางในการพูดคุย ปิดการขายได้อย่างมีประสิทธิภาพสำหรับธุรกิจเล็กใหญ่ รวมถึงเป็นช่องทางการสื่อสารให้กับหน่วยบริการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ องค์กรสาธารณสุขหรือสถานพยาบาลต่างๆ มาโดยตลอดแล้ว LINE Official Account หรือ LINE OA ยังสามารถเป็นเครื่องมือช่วยยกระดับบริการด้านสาธารณสุขของหน่วยงานทางการแพทย์ สู่การเป็น HealthTech แบบจริงจัง สร้างรูปแบบบริการที่ทันสมัย ให้ความช่วยเหลือผู้ป่วยได้รวดเร็วทันใจ และมีประสิทธิภาพ พร้อมสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับคนไข้ เข้าถึงบริการทางการแพทย์ได้สะดวก ทันท่วงที
ตัวอย่างของหน่วยงานการแพทย์ไทยในปัจจุบัน ที่มีการประยุกต์ใช้ LINE OA มายกระดับการให้บริการ เพื่อรับมือสถานการณ์โควิด-19 ได้แก่ Siriraj Connect (@sirirajconnect) โดยโรงพยาบาลศิริราช ใช้ LINE OA เป็นช่องทางเชื่อมต่อสู่บริการ Telemedicine ในแอปฯ Siriraj Connect เพื่อให้บริการผู้ป่วยที่มีอยู่จำนวนมาก ลดความแออัดในโรงพยาบาล
ทั้งนี้ ผู้ป่วยสามารถพูดคุยสอบถามข้อมูลเบื้องต้นกับบุคลากรผ่านแชทได้โดยตรง จองคิวออนไลน์ ตรวจสอบสิทธิการรักษา เช็คตารางแพทย์ รวมถึงลงทะเบียนบริจาคเงิน บริจาคเลือดผ่าน และขอความช่วยเหลือฉุกเฉินผ่าน Rich Menu ใน LINE ได้อย่างรวดเร็ว หรือการประยุกต์ใช้ LINE OA เพื่อยกระดับการบริการชุมชนอย่างแท้จริง อย่าง Home Isolation – KKU (@homeisolation) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ใช้ LINE OA เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อผู้ป่วยกับโรงพยาบาลในพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งโดดเด่นมากกับการทำ Home Isolation ด้วยระบบแชทบอทที่เป็นมิตรกับผู้ใช้บริการ โดยผู้ใช้เพียงกรอกข้อมูลสุขภาพเพื่อให้แพทย์และโรงพยาบาลติดตามสภาวะสุขภาพของผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง อีกทั้งยังเข้าใจพฤติกรรมคนไทย ด้วยการเปิดใช้ฟีเจอร์ LINE OA Call เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถโทรหา KKU ได้โดยตรง
นอกจากหน่วยงานภาครัฐแล้ว โรงพยาบาลเอกชนยังหันมาใช้ LINE OA เพื่อต่อยอดการบริการให้ลูกค้าพึงพอใจและเป็นประตูเชื่อมสู่เทคโนโลยีอื่นๆ ที่นำมาใช้ร่วมกันเพื่อตอบโจทย์คนไข้ได้อย่างครบครัน เช่น Praram 9 Hospital (@praram9hospital) ของโรงพยาบาลพระราม 9 ที่เลือกใช้ LINE OA มาเป็นช่องทางในการลงทะเบียนรับวัคซีนในรูปแบบ E-coupon ตรวจสอบสถานที่ที่ให้บริการ Hospitel รวมถึงเป็นช่องทางเข้าถึงบริการ Telemedicine ด้วยการโทร VDO Call ปรึกษาแพทย์ออนไลน์ผ่านแอปฯ 9CARE
นอกจากฟีเจอร์ต่างๆ ของ LINE OA ที่พร้อมรองรับ ยกระดับการให้บริการของหน่วยงานการแพทย์ได้แล้ว MyShop ยังเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจ ที่หน่วยงานการแพทย์สามารถนำมาประยุกต์ใช้เพื่อต่อยอด ทำให้คนไข้เข้าถึง เข้าใช้งานบริการได้ง่ายขึ้น เช่น การสร้างรายนามแพทย์ เพื่อให้คนไข้เลือกจองนัดหมายได้อย่างสะดวกรวดเร็ว เป็นต้น พร้อมจุดเด่นของเครื่องมือ MyShop ที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบการชำระเงินต่างๆ รวมถึง Rabbit LINE Pay ได้ อำนวยความสะดวกให้คนไข้ สร้างประสบการณ์บริการทางการแพทย์ทีเข้าถึง เข้าใช้ง่ายไปในตัว
เตรียมตัวอย่างไร เมื่อต้องการเริ่มใช้งาน LINE OA
ทั้งนี้ การใช้งานของทั้ง 3 กรณีตัวอย่างบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า วันนี้ องค์กรสาธารณสุขของไทยเข้าใกล้กับคำว่า HealthTech ได้ไม่ยาก ด้วยเทคโนโลยีจาก LINE OA แต่สิ่งที่สำคัญ คือ การเตรียมพร้อม หรือเตรียมตัวก่อนเริ่มใช้งาน เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
1.องค์กรต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อนว่า ต้องการให้ LINE OA ทำหน้าที่หรือมีบทบาทอะไร อาทิ ใช้เป็นศูนย์กลางข้อมูลการสื่อสาร ปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้บริการ เป็นศูนย์กลางเข้าถึงบริการต่างๆ ของรพ. เหล่านี้สามารถทำได้ด้วยฟีเจอร์เบื้องต้นบน LINE OA หรือต้องการใช้เป็นด่านหน้าเพื่อเข้าสู่ระบบหรือแอปฯ ขององค์กร เป็นศูนย์กลางเชื่อมต่อผู้ป่วยกับรพ.ในเครือ ที่ต้องอาศัยการเชื่อมต่อ การพัฒนาที่ซับซ้อน เพราะวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน จะนำไปสู่การบริหารจัดการที่แตกต่างกัน
2.การจัดสรรทรัพยากร ทั้งทรัพยากรบุคคลและงบประมาณในการบริหาร LINE OA ซึ่งอาจเป็นไปได้ 3 ทาง คือ
* จัดสรรทีมงานในองค์กรเพื่อเรียนรู้การใช้งานฟีเจอร์ ฟังก์ชั่นต่างๆ ของ LINE OA เช่น ขั้นตอนการสร้าง LINE OA การสร้าง Rich Menu เมนูลัดเพื่อลิงก์ไปยังบริการต่างๆ ของหน่วยงาน การตั้งข้อความตอบกลับอัตโนมัติ เป็นต้น โดยสามารถศึกษาได้ด้วยตนเองที่ https://lin.ee/ARLFHoU/wcvn หรือดูข้อมูลรายละเอียดผ่านเว็บไซต์ https://lineforbusiness.com/th/
* หากมีบุคลากรด้านไอที นักพัฒนา สามารถขอคำปรึกษา พูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้การใช้งาน LINE API เชื่อมต่อระบบของรพ. กับ LINE OA ในเชิงเทคนิคหรือเชิงลึกได้ที่คอมมิวนิตี้ LINE Developers Group Thailand
* กรณีที่ไม่มีทรัพยากรบุคคลมากพอในการสร้างระบบเพิ่มเติมที่ค่อนข้างซับซ้อน เพื่อเชื่อมโยงกับข้อมูลของหน่วยงาน ตามจุดประสงค์ที่วางไว้ สามารถตรวจสอบรายชื่อและติดต่อบริษัทนักพัฒนาที่เป็นพาร์ทเนอร์ของ LINE อาทิ Yellow Idea เพื่อมาช่วยพัฒนาระบบ เชื่อมต่อ LINE API สร้างบริการในรูปแบบ HealthTech ที่ทันสมัย หรือ AIYA เพื่อมาช่วยพัฒนาระบบ Chatbot ตอบคำถามเบื้องต้นจากคนไข้ เหมาะกับการให้บริการในยุคนี้ได้เช่นกัน ดูรายชื่อบริษัทนักพัฒนาพันธมิตรของ LINE ได้ที่ https://lin.ee/fvC7oVc/wcvn
ในยุคที่ผู้บริโภคเริ่มปรับตัวและเข้าใจการใช้เครื่องมือดิจิทัลมากขึ้น ถึงเวลาแล้วที่หน่วยงานด้านสาธารณสุข และโรงพยาบาลต่างๆ จะปรับตัวเข้าสู่ HealthTech ไม่เพียงเพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้งาน แต่ยังเป็นการยกระดับองค์กรสู่ความทันสมัย และยังเป็นการพัฒนาบริการและองค์กรให้เดินหน้าเติบโตได้ในยุคดิจิทัล โดย LINE พร้อมเป็นแพลตฟอร์มรองรับการเปลี่ยนแปลงนี้อย่างมีประสิทธิภาพ และมุ่งสนับสนุนการพัฒนาบริการทางการแพทย์ไทยด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มที่
ติดตามคอนเทนต์ความรู้ และกิจกรรมมากมาย ที่ LINE อาสาช่วยเหลือคนไทยในหลายภาคส่วน รวมถึงหน่วยงานทางการแพทย์ ให้สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ขับเคลื่อนชีวิตประจำวัน ขับเคลื่อนองค์กร ให้เดินหน้าต่อได้แม้ในยามวิกฤต ผ่านแคมเปญ WE LOVE YOU ได้ที่ https://lin.ee/ewb3N7H/wcvn/PR/weloveyou