30.5 C
Bangkok
Thursday, March 28, 2024
https://www.thaihonda.co.th/honda/
httpswww.motorshow.in.th
https://www.ford.co.th/showroom/all-offers/?gad_source=1&gclid=CjwKCAjw7-SvBhB6EiwAwYdCAUeXeLmbyKoh6AaDtpaMUHnzvZKmqjeUcdKuGl01jW2_5mnKKbrywBoCM2cQAvD_BwE&gclsrc=aw.ds
https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars.html
https://www.thaihonda.co.th/honda/
httpswww.motorshow.in.th
FORD900x192px_1
https://www.mercedes-benz.co.th/th/passengercars.html_BENZ900X192px
previous arrow
next arrow

เบนท์ลีย์ มอเตอร์ส เผยความลับการรังสรรค์ ‘FLYING B’ มาสคอตเบนท์ลีย์อันโด่งดัง

ครูว์ : ‘Flying B’ กับการออกแบบที่งดงามถูกนำเข้ามาตกแต่งบนฝากระโปรงหน้าแทนที่โลโก้เบนท์ลีย์ (Winged ‘B’) เติมเต็มความสมบูรณ์แบบพร้อมกับไฟหน้าแบบคริสตัลและปีกอะคริลิกใสเรืองแสงสำหรับ ‘Flying B’ ถือเป็นชุดแต่งมาตรฐานในรุ่นเรือธงอย่าง Flying Spur Mulliner และเป็นตัวเลือกออปชันเสริมสำหรับ Flying Spur รุ่นอื่นๆโดยกว่า 97% ของคำสั่งจอง Flying Spur มาพร้อมกับออปชัน ‘Flying B’

การรังสรรค์ ‘Flying B’ อันสง่างามที่ดึงดูดทุกสายตาได้มีการผสมผสานระหว่างการออกแบบ งานฝีมือ และ ทักษะด้านวิศวกรรมที่ยอดเยี่ยม ซึ่งจะเป็นแนวทางของเบนท์ลีย์ในการสร้างสรรค์ประสบการณ์ลูกค้าที่ไม่เหมือนใครผ่านการใส่ใจในรายละเอียดอย่างลึกซึ้งในทุกขั้นตอน

อีกขั้นของมาตรฐานการออกแบบ

‘Flying B’ ได้ถูกคิดค้นมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2463 โดยการออกแบบในปัจจุบันที่เห็นใน Flying Spur รุ่นล่าสุด ถือเป็นการออกแบบขึ้นเป็นครั้งที่ 6 ซึ่งนักออกแบบและวิศวกรของเบนท์ลีย์ได้พบกับความท้าทายในการยกระดับงานศิลปะและงานฝีมือในการรังสรรค์ ‘Flying B’ ไปสู่อีกระดับ การติดตั้ง ‘Flying B’ เข้ากับ Flying Spur Mulliner จึงเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ของเบนท์ลีย์ที่ได้ติดตั้งด้วยระบบควบคุม ขึ้น-ลง แบบอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังเป็นครั้งแรกที่มีแผ่นปิดช่อง ‘Flying B’ และ มากไปกว่านั้นยังเป็นครั้งแรกที่ผลิตเป็นแบบปีกอะคริลิกใส และยังเป็นครั้งแรกที่มีระบบเรืองแสงจากภายใน

โดยในระหว่างการพัฒนา Flying Spur รุ่นใหม่ ตัวเลือกการออกแบบที่ได้ถูกคัดเลือกโดยทีมนักออกแบบของเบนท์ลีย์ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นเป็นต้นแบบและนำเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อคัดเลือก โดยการออกแบบของ Hoe Young Hwang ก็ได้ถูกคัดเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ 

การรังสรรค์ด้วยเทคนิคการหล่อกังหัน

‘Flying B’ ได้ถูกหล่อขึ้นเป็นเหล็กกล้าไร้สนิมเกรด 316 แบบชิ้นเดียว ซึ่งมีโครงสร้างผลึกออสเทนนิติกที่ทั้งแข็งแรงและสามารถทนต่ออุณหภูมิสุดขั้วได้ การเพิ่มโมลิบดีนัมยังทำให้มีความทนทานต่อการกัดกร่อน ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับส่วนประกอบที่ต้องสัมผัสกับส่วนต่างๆ ตลอดเวลา

‘Flying B’ ผลิตขึ้นโดยใช้กระบวนการหล่อขี้ผึ้งที่ บริษัท Lestercast Ltd เป็นเทคนิคที่ปกติสงวนไว้สำหรับชิ้นงานที่ต้องการความแม่นยำสูง อาทิ ใบพัดกังหันก๊าซ ซึ่งการหล่อรูปแบบนี้แม้ว่าจะใช้เวลานาน แต่โดยทั่วไปจะใช้สำหรับการผลิตชิ้นส่วนที่มีรูปร่างซับซ้อนซึ่งต้องการค่าความคลาดเคลื่อนต่ำ พื้นผิวที่บาง และผิวสำเร็จที่ดีกว่าการหล่อทราย

กระบวนการทั้งหมดใช้เวลากว่า 11 สัปดาห์ตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่ง ณ จุดนี้ ‘Flying B’ จะพร้อมสำหรับการประกอบโดย บริษัท WCM Europe Ltd พร้อมกับปีกอะคริลิกแบบคริสตัล สายไฟ และ ดวงไฟแบบ LED ขนาดเล็กที่จะทำให้สามารถเรืองแสงเมื่อนำไปตกแต่งบริเวณฝากระโปรงหน้าของ Flying Spur

วิวัฒนาการของ Flying ‘B’

ในช่วงแรกนั้น Flying ‘B’ ไม่สามารถใช้ติดตั้งเข้ากับอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์รุ่นแรกได้ โดยอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ยังมีอยู่ ณ ปัจจุบัน อย่าง EXP2 ได้มีมาตรวัดอุณหภูมิน้ำแบบธรรมดาเป็นฝาปิดหม้อน้ำในแนวสายตาของคนขับ แต่ด้วยความต้องการของลูกค้า ทำให้โรงงานได้เสนอโลโก้ตัว “B” ทองเหลืองตั้งตรงที่หรูหรา พร้อมตกแต่งด้วยปีกที่ยื่นในแนวนอนในช่วงกลางปี 2463 

โดยในช่วงปี 2549 ได้มีการปรับปรุงการออกแบบ Flying ‘B’ ซึ่งปัจจุบันมีกลไกการควบคุมการขึ้น-ลง แบบอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับรุ่น Bentley Azure และ Brooklands ต่อมา ได้มีการเสนอการออกแบบแบบเดียวกันนี้ให้เป็นตัวเลือกสำหรับ Bentley Mulsanne จนกระทั้งปี 2562 การเปิดตัวของ Flying Spur ใหม่ ได้ทำให้ Flying ‘B’ มาถึงจุดที่เป็นที่สุดของความสมบูรณ์แบบทางเทคนิคและศิลปะที่ได้ถูกรังสรรค์ขึ้นบนอัครยนตรกรรมเบนท์ลีย์เฉกเช่นในปัจจุบัน

Related Articles

Stay Connected

0FansLike
3,912FollowersFollow
21,600SubscribersSubscribe
- Advertisement -spot_img

Latest Articles